วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

รูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน


บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัจจุบันและพัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1  การศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบรูปแบบด้วยการนำข้อมูลที่ได้รับจากขั้นตอนที่ 1 มาร่างรูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ขั้นตอนที่ 3  เป็นการตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานด้านความ สัมพันธ์กับชุมชนสำหรบัสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 

1) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวม มีการปฏิบัติในระดับมาก โดยงานประชาสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด  รองลงมาได้แก่งานร่วมกิจกรรมชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับที่ 3 ได้แก่  งานเกี่ยวกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยงานที่มี ระดับ การปฏิบัติน้อยที่สุด คืองานจัดตั้งกลุ่ม ชมรม สมาคม และมูลนิธิ   

2) แบบอย่างที่ดีในการบริหารงานด้านการสร้างความสัมพันธ์ชุมชน พบว่าสถานศึกษาให้ความสำคัญมากที่สุดในงานเกี่ยวกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสถานศึกษาให้ความสำคัญกับคณะกรรมการสถานศึกษา โดยเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาได้แสดงบทบาทในการกำกับสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการศึกษา รองลงมาคืองานร่วมกิจกรรมชุมชน โดยมีครู นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมตามประเพณีในชุมชน และกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ   

3) รูปแบบการบริหาร

งานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน สำหรบัสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 5 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย 

1.1) ความเป็นมาของการพัฒนารูปแบบ 

1.2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ

1.3) หลักสำคัญของรูปแบบ 

ส่วนที่ 2 โครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาเกี่ยวกับงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ประกอบด้วย

2.1) โครงสร้างของงาน 

2.2) การพรรณนางาน

ส่วนที่ 3  แนวทางบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ประกอบด้วย 

3.1) การวางแผน  

3.2) การจัดองค์การ  

3.3) การดำเนินงาน ได้แก่

    (1) งานให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

    (2) งานเกี่ยวกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

    (3) งานประชา-สัมพันธ์

    (4) งานให้บริการชุมชน

    (5) งานร่วมกิจกรรมชุมชน

    (6) งานจัดตั้งกลุ่มชมรมสมาคมและมูลนิธิ 

    (7) งานสร้างเสริมความสัมพันธ์กับชุมชน และหน่วยงานอื่น 

3.4) การควบคุม ได้แก่ การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล ส่วนที่ 4 องค์ประกอบและตัวชี้วัดความสำเร็จของงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน  และส่วนที่ 5 เงื่อนไขการนำรูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนไปใช้  ผลการตรวจสอบรูปแบบ พบว่ามีความเหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้

Abstract

 The purposes of the study were to investigate the current situation and to develop a School-Community Relations Administration Model for Basic Education Schools. The research design employed mixed - method of quantitative and qualitative data collection. Three stages of data collection were; 1) examining the current situation of community relations; 2) designing the model using data derived from stage 1, and initially examining the model; and 3) verifying the appropriateness and the possibility of the model of School-Community Relations Administration of Basic Education Schools.

Three major findings revealed as follows:

1) Overall results were at high levels regarding the current situation of School- Community Relations of the basic education schools. In particular, the highest levels were public relations aspect, followed by participation in community activities, and the work of basic education school committee respectively. However, the results showed that the least performed aspects were establishing groups, clubs, associations, and foun- dations.

2) Regarding to the role model of School-Community Relations Administration of basic education schools, the results showed that the work of basic education school committee was ranked at the highest, particularly in providing the committee opportuni- ties in monitoring and supporting educational management. The second ranking was dealt with the participation in the community activities organized by teachers and the participation of students in community cultural activities and other important days.

3) Concerning the School-Community Relations Administration Model for Basic Education Schools, the results revealed that there are 5 essential components of the Model.

First, Introduction Section which consists of 3 parts which are  1.1) back- ground of the model, 1.2) purposes of the model, and  1.3 ) rationale of the model. Section two is about Structure, Role and Duties of the school's community relationship that comprises of

2 parts:  2.1) structure of the work, and 2.2) job description. Section three is about a guideline for Communities Relationship Administration consisting of

3 parts which are 3.1 ) planning, 3.2 ) organization managing, 3.3) work progressing, In particular, Part 3.3 can be elaborated into 7 subparts, which are (1) community partici- pating in educational management, (2) the basic education committee's work, (3) public relations, (4) community services, (5) participating in community activities, (6) establish- ing groups, clubs, associations, and foundations, and (7) enhancing relationship between communities and other organizations, and 3.4) controlling which including supervising, monitoring, and evaluating. Then, Section four which is about performance indicators for the success of community relationship. The last part is Section five which is about a condition of implementation of the School-Community Relations Administration Model for Basic Education Schools.  The Results of Model verification showed that the Model was appropriate and practical.

Download in PDF (191.35 KB)

How to cite!

ประสิทธ์ิ เผยกลิ่น (2556). รูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 7(1), 87-104

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in