วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ประสิทธิผลของสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชา THA 106 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร เรื่อง การฟัง

The Effectiveness of the e-Learning Courseware Media of THA 106 Thai Language for Communication on Listening


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชา THA 106 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร เรื่องการฟัง และเพื่อสำรวจ ความพึงพอใจที่มีต่อการสอน e-Learning เรื่องการฟัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา THA 106 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร  ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ที่อยู่ในกลุ่มที่ผู้วิจัยสอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบคำนวณจากสูตร Kuder Richardson 21 และทดสอบภาวะการแจกแจงปกติของข้อมูล โดยใช้ Kolmogorov Smirnov นำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตารางและการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า ด้านประสิทธิผลของสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่องการฟังไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 แต่เนื่องจากคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน มากกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบด้วยแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน  แสดงว่าให้เห็นว่าสื่อการสอนเรื่องการฟังทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสูงขึ้น นั้นคือ สื่อการสอนเรื่องการฟังมีประสิทธิภาพด้วยความเชื่อมั่นร้อยละ 95ด้านความพึงพอใจที่มีต่อการสอน e-Learning เรื่องการฟัง พบว่านักศึกษามีความคิดเห็นด้านเนื้อหาในภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 ด้านการนำเสนอในภาพรวมอยู่ในระดับดี  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 ด้านการใช้ภาษาอยู่ในระดับดีมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 และด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34

Abstract

The purposes of this research were to evaluate the effectiveness of the e-learning courseware media for THA 106: Thai Language for Communication entitled "The Effective Listening", and to survey the satisfaction towards e-learning courseware on listening matter. The sample group was students who studied Thai Language for Communication (THA 106) in semester 2 of academic year 2010 at Rangsit University. The data was analyzed by using simple statistics to calculate the mean and standard deviation. The reliability of the test was calculated by using Kuder Richardson 21, and normal distribution was calculated by using Kolmogorov Smirnov. The data was presented through tables and contents. The findings were as follows: Regarding to the effectiveness of the e-learning courseware, the scores of the tests were not different from the achievement tests for both pre-tests and post-tests at the significant level 0.05. Nevertheless, the post-tests average score was higher than the pre-tests average score; this showed that the material used for teaching listening was effective. It helped students to increase their achievement on learning with the level of confidence at 95%. In terms of satisfaction towards e-learning courseware media, it was found that the average score for the content was at a high level (4.34), the overall presentation was at a level high (4.39), the usage of language was at the highest level (4.52), and the e-learning  courseware as a whole was at a high level (4.34).

Download in PDF (145.61 KB)

How to cite!

ศศวรรณ รื่นเริง (2556). ประสิทธิผลของสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชา THA 106 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร เรื่อง การฟัง. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 7(1), 58-68

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in