การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทคัดย่อ
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติของประชาชนทุกระดับ สามารถใช้เป็นวิถีการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตน ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติให้มีความก้าวหน้าด้วยความสมดุล มั่นคง และยั่งยืนพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับว่าได้สะท้อนถึงคำสอน โดยเฉพาะคุณธรรม จริยธรรมไว้หลายประการที่สามารถนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะคุณธรรม จริยธรรมที่ปรากฏ ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ควรนำมาพัฒนาให้กับเยาวชนไทยเป็นอย่างยิ่งแนวทางการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสามารถจัดทำได้หลายรูปแบบด้วยกัน ได้แก่ การสอดแทรกหรือบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนทุกกลุ่มที่ปรากฏในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การสอดแทรกหรือบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และการจัดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรายวิชาหนึ่ง การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สามารถใช้วิธีการเรียนการสอนหลากหลายวิธีที่สำคัญ ได้แก่ การอบรมโดยตรง การปรับพฤติกรรม การพัฒนาจริยธรรมโดยการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม การทำความกระจ่างในค่านิยม ตลอดจนการนำแนวพุทธวิธีมาจัดการเรียนการสอน รวมทั้งอาจจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ เช่น กิจกรรมเกี่ยวกับการเขียน การอ่าน การพูด และการแสดง ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมอย่างแท้จริง
Abstract
Sufficiency economy has been the philosophy bestowed by His Majesty the King to be the guidelines for living conduct of Thai people for more than 30 years. The sufficiency economy philosophy is the principle for thinking and practice of Thai people in every level. It can be applied to be the way of living to develop oneself, family, commu- nity, and country to achieve equitable, secured and sustainable progress. His Majesty the King's speech reflects his teaching on several points of morality and ethics that can lead to the truly worthwhile way of living. The moral and ethical principles that appear in the sufficiency economy philosophy are especially suitable to be inculcated in Thai youngsters. There are several approaches in organizing the instructional program on the principles of sufficiency economy philosophy in school, namely, the insertion or integra- tion of the sufficiency economy philosophy into all learning areas in the Basic Education School Curriculum, B.E. 2551; the insertion or integration of the sufficiency economy philosophy into the Social Studies, Religion and Culture Learning Area; and the offering of the sufficiency economy philosophy as a supplementary course in the curriculum. Several instructional methods can be utilized in the instruction for development of morality and ethics based on the sufficiency economy philosophy. The main methods are the direct training, the behavioral modification, the ethical reasoning method for ethi- cal development, the value clarification method, and the application of the Buddhist approach for instructional management. All of these methods include the organizing of learning activities such as activities concerning writing, reading, speaking, and perfor- mance. Examples of these activities will enable students to really develop their moral and ethical characteristics.
How to cite!
สิริวรรณ ศรีพหล (2556). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 7(1), 6-30
Indexed in