วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

สื่อสารภาษาฝรั่งเศสให้ตรงกับที่ใจคิด


บทคัดย่อ

ปัญหาที่พบได้บ่อยในการสอนภาษาฝรั่งเศส คือ การที่ผู้เรียนไม่สามารถเลือกใช้ประโยคให้ตรงกับ ความคิดที่ต้องการจะสื่อสารได้  การที่เราจะเลือกใช้ประโยคภาษาฝรั่งเศสให้ตรงกับความคิดหรือตรงตาม วัตถุประสงค์นั้น เราต้องเขียนประโยคจากโครงสร้างภาษาฝรั่งเศส ผู้เขียนพบว่าการจัดหมวดหมู่ของโครงสร้าง ประโยคตามความคิด ของ แพทริค ชาโรโด (Charaudeau, 1992) ที่เขาเรียกว่า รูปแบบในการสื่อสาร (Modalités) นั้น น่าจะทำให้การจดจำโครงสร้างภาษาฝรั่งเศสของผู้เรียนเป็นไปได้ง่ายขึ้น  ชาโรโด แบ่งรูปแบบ ในการสื่อสารออกเป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆ กล่าวคือ  1. รูปแบบในการสื่อสารที่ประธานของประโยคมีปฏิสัมพันธ์กับคู่ สนทนา (Modalités allocutives)  2. รูปแบบในการสื่อสารที่ประธานของประโยคบอกจุดยืนของตน (Modalités élocutives) และ 3. รูปแบบในการสื่อสารที่เป็นการอ้างอิงหรือการยืนยัน และการเล่าคำพูดของผู้อื่น (Modalités délocutives)  ผู้เขียนจึงได้เลือกโครงสร้างการใช้คำที่น่าสนใจจากรูปแบบในการสื่อสารดังกล่าว จากนั้นเขียน ตัวอย่างประโยคพร้อมให้คำแปลภาษาไทย ซึ่งจะช่วยให้การ เลือกใช้ประโยคได้ตรงประเด็น จนสามารถสื่อสารได้ ตรงกับที่ใจคิดในที่สุด    

Abstract

The most common problem in learning French language is that students cannot choose the right sentence to match up with the idea that they want to communicate. To deliver the right French words that match up with our idea or meet our objectives, we have to write a sentence from French structure.  We found that the conceptual categorization of Patrick Charaudeau that he called Modalités  would facilitate memorizing the French structure of the students. Charaudeau divided Modalités in three categories. The first category is called Modalités  allocutives in which the locutor interacts with his interlocutor.  The second one is named Modalités élocutives in which the locutor give his standpoint. And the last one called Modalités délocutives involve in assertion and reported discourse.  So we chose interesting wordings from the three categories, then wrote the examples of how they are used and rendered them into Thai language. This will help the students apply them relevantly and they will finally be able to meet the objectives of their commnunication.  

Download in PDF (305.64 KB)

How to cite!

สุดาญา ออประยูร (2555). สื่อสารภาษาฝรั่งเศสให้ตรงกับที่ใจคิด. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 6(1), 31-53

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in