วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการปฏิบัติศาสนกิจของพระนิสิตชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Psychological Factors Related To Approached Of Religious Practice Of


บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาด้านการรับรู้ความสามารถของตนในการปฏิบัติศาสนกิจของพระนิสิตด้านทัศนคติในการปฏิบัติศาสนกิจใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ของพระนิสิตและแนวทางการปฏิบัติศาสนกิจของพระนิสิตชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตวิทยากับแนวทางการปฏิบัติศาสนกิจของพระนิสิตชั้นปีที่4มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นพระนิสิตชั้นปีที่4มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปีพ.ศ.2552 จำนวน 165 รูปเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามปัจจัยทางจิตวิทยาด้านการรับรู้ความสามารถของตนในการปฏิบัติศาสนกิจของพระนิสิตที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .9392 แบบสอบถามปัจจัยทางจิตวิทยาด้านทัศนคติในการปฏิบัติศาสนกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีค่าความเที่ยงเท่ากับ.9261และแบบสอบถามแนวทางการปฏิบัติศาสนกิจที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .9649 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1.พระนิสิตชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีการรับรู้ความสามารถของตนในการปฏิบัติศาสนกิจของพระนิสิตมีทัศนคติในการปฏิบัติศาสนกิจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และมีแนวทางการปฏิบัติศาสนกิจอยู่ในระดับสูงมาก

2.ปัจจัยทางจิตวิทยาการรับรู้ความสามารถของตนในการปฏิบัติศาสนกิจของพระนิสิตและทัศนคติในการปฏิบัติศาสนกิจใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ของพระนิสิตมีความสัมพันธ์กับแนวทางการปฏิบัติศาสนกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

Abstract

The purposes of this thesis were :  1) to study the following psychological factors: self-efficacy in religious activities performing, attitudes towards religious activities performing, and religious performing practices of the fourth-year Buddhist monk students and 2) to study the relationship between the psychological factors and religious performing of the fourth-year Buddhist monk students. The 165 subjects of study were the fourth-year Buddhist monk students of Mahachulalongkornrajavidyalaya University in the academic year 2009. The research instruments were a questionnaire of self-efficacy in terms of religious activities performing, a questionnaire of attitude towards religious activities performing, and a questionnaire of religious performing practices with reliability coefficient of .9392, .9261, and .9649 respectively. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and Pearson-product moment correlation coefficient.

The research results were as follows:

1. Self-efficacy in religious activities performing, attitude towards religious activities performing, and religious performing practices of the fourth-year Buddhist Monk Students were perceived very high.

2. Positive correlation was found between the psychological factors: self-efficacy in religious activities performing and attitude towards religious activities performing and their religious performing practices at statistically significant level of .01.

Download in PDF (196.28 KB)

How to cite!

เจษฎากานต์ กองทา (2554). ปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการปฏิบัติศาสนกิจของพระนิสิตชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 5(2), 84-97

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in