วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาชุดการสอน รายวิชา TRM 225 งานมัคคุเทศก์

Development of the Instructional Module of TRM 225: Tour Guiding


บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างสื่อการสอนหรือนวัตกรรม เพื่อพัฒนาบทเรียนวิชางานมัคคุเทศก์ ให้มีเนื้อหาสอดคล้องกันตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติในรายวิชาให้สอดคล้องกับประมวลรายวิชาเพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ซึ่งจะสามารถนำไปประยุกต์ในการปฏิบัติงานจริงนอกจากนี้ยังทำการศึกษาเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนก่อนและหลังการเรียนการสอนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ 3 คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการมหาวิทยาลัยรังสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชางานมัคคุเทศก์จำนวน 110 คนและนักศึกษาที่ศึกษารายวิชานี้ในมหาวิทยาลัยของรัฐและของเอกชนแห่งอื่นๆอีกจำนวน 165 คนได้แก่นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีจำนวน 70คนนิสิตคณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตรจำนวน30คนนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีจำนวน 25 คนและนักศึกษาคณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุมจำนวน40คนโดยให้ทำแบบสอบถามความรู้ความเข้าใจก่อนการเรียนเพื่อเปรียบเทียบกับความรู้ความเข้าใจหลังการเรียนการสอนและให้ทำแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนวิชางานมัคคุเทศก์จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าทีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for window

ผลการวิจัยพบว่า

1.การเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจที่มีต่อบทเรียนก่อนและหลังการเรียนการสอนของนักศึกษาคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการมหาวิทยาลัยรังสิตจำนวน 110 คนนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีจำนวน 70 คนนิสิตคณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตรจำนวน 3 0คนนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีจำนวน 25 คนและนักศึกษาคณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุมจำนวน40คนพบว่าคะแนนความเข้าใจบทเรียนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05

2.ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนวิชางานมัคคุเทศก์คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการมหาวิทยาลัยรังสิตจำนวน 110 คนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 แสดงว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนในระดับมากนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีจำนวน 70 คนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 แสดงว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อในการเรียนการสอนในระดับปานกลางระดับความพึงพอใจของนิสิตคณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตรจำนวน30คนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 แสดงว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนในระดับมากระดับความพึงพอใจของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีจำนวน25คนมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.76 แสดงว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนในระดับปานกลางและระดับความพึงพอใจของนักศึกษา

คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุมจำนวน 40 คนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 แสดงว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนในระดับมาก

3.จากการวิจัยครั้งนี้ได้ผลสรุปว่าเนื้อหารายวิชางานมัคคุเทศก์ของคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการในปัจจุบันมีความสมบูรณ์และมีมาตรฐานที่ดีพอสมควรแต่ควรมีการเพิ่มเติมแบบฝึกหัดท้ายบทในแต่ละบทเพื่อเป็นการประเมินความรู้ที่นักศึกษาได้รับและเตรียมความพร้อมในการสอบจริงสำหรับระยะเวลาในการเรียนนั้นมีความเหมาะสมดีแล้วแต่ควรปรับให้มีความยืดหยุ่นในการเรียนการสอนในกรณีที่นักศึกษายังไม่เข้าใจเนื้อหาในบางหัวข้อและควรมีการปรับปรุงเนื้อหาการเรียนการสอนในรายวิชาให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้นโดยการเพิ่มกรณีศึกษาเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้นมีการฝึกปฏิบัติงานเพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จากการทำงานจริงและควรมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้มีความสะอาดเรียบร้อยและมีอุปกรณ์การสอนที่มีประสิทธิภาพและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

Abstract

The purpose of this study is to create innovative teaching program and develop the consistency of the course content from the first up to the last chapter of the course. It also aims to develop instructional activities that correspond to the syllabus of the course so that students can apply knowledge and experiences they have acquired to the real situations successfully. In addition, the study also focuses on the comparison of student's knowledge and understanding towards the syllabus prior to and after the teaching. The subjects consisted of 110 second and third year students of Faculty of Tourism and Hospitality Industry, Rangsit University who registered in the course: Tour Guiding, and 165 students of other both public and private universities. Based on pre-test post-test design, the instrument used in this study was the comprehension test and attitude questionnaire. The data were analyzed by mean, standard deviation, one sample t-test and paired t-test through SPSS Statistical Packages for Window.

The results of this study showed that:

1. The posttest achievement mean scores of the subjects which consisted of 110 students of Faculty of Tourism and Hospitality Industry, Rangsit University; 70 students of Faculty of Management Science, Silpakorn University Information Technology Petchaburi Campus, 30 Students of Faculty of Social science, Srinakarinwirot University Prasarnmit, 25 Students of Faculty of Management Science, Rachabhat Kanchanaburi University, and 40 Students of Faculty of Social Science, Sripatum University were higher than those of the pretest at statistically significant level of 0.05.

2. The 100 Rangsit students, 30 Srinakarinwirot students, and 40 Sripatum students were very satisfied with the instruction of the course, with the mean scores of 4.18, 4.15 and 4.07 respectively. The 70 Silpakorn students and 25 Rachbhat Kanchanaburi students were moderately satisfied, with the mean scores of 3.96 and 3.76 respectively.

3. This research can be concluded that the content of the Tour Guiding course of the Faculty of Tourism and Hospitality, Rangsit University is complete and up to the standard. It is recommended that exercises (or quizzes) at the end of each chapters should be added in order to evaluate students' knowledge and to prepare them to be ready for the examinations. In addition, it is suggested that some course content should be more flexible to help students to gain more understanding. Moreover, it is advisable to develop the course content to be more innovative by adding more case studies for students to practice. Lastly, it is suggested that the overall classroom environment should be improved in terms of cleanliness and tidiness, and the rooms should be equipped with effective instructional equipment.

Download in PDF (163.82 KB)

How to cite!

นพปฎล ธาระวานิช (2554). การพัฒนาชุดการสอน รายวิชา TRM 225 งานมัคคุเทศก์. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 5(2), 34-49

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in