การพัฒนาสื่อประกอบการเรียนการสอนวีซีดี สำหรับปฏิบัติการเรื่อง ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์
A Development of Instructional VCD on The Laboratory Process of Microorganism Culturing
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อประกอบการเรียนการสอนวีซีดีสำหรับปฏิบัติการเรื่องขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์และศึกษาความพึงพอใจในสื่อการสอนประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่2สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารคณะเทคโนโลยีชีวภาพมหาวิทยาลัยรังสิตที่ลงทะเบียนรายวิชาFTH221จุลชีววิทยาเบื้องต้นประจำภาคเรียนที่2ปีการศึกษา2551จำนวน30คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบทดสอบก่อนเรียนผ่านสื่อวีซีดีและแบบทดสอบหลังเรียนผ่านสื่อวีซีดีและมีการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อวีซีดีในด้านเนื้อหาและในด้านการเรียนการสอน
ผลการวิจัยเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอรืในการคำนวณซึ่งได้จาก Depen-dent Sample Testด้วยความเชื่อมั่นร้อยละ95ปรากฏว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบด้วยแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบก่อนเรียนซึ่งมีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ0.05และผลจากการประเมินความพึงพอใจพบว่าผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจมีทัศนคติต่อสื่อวีซีดีเรื่องขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ในด้านเนื้อหาและการดำเนินเรื่องและองค์ประกอบด้านมัลติมีเดียอยู่ในระดับดีมากดังนั้นผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าสื่อวีซีดีเรื่องขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์มีคุณภาพดีทั้งในด้านเนื้อหาและการดำเนินเรื่องและองค์ประกอบด้านมัลติมีเดียสามารถช่วยพัฒนาความรู้และทักษะตลอดจนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองให้กับผู้เรียนได้มากขึ้น
Abstract
The purpose of this study was to develop an instructional medium, a VCD on "Laboratory
Process of Microorganism Culturing", which is the treatment of the present study. The subjects of the study were 30 undergraduate students registering the course: Introduction to Microbiology (FTH 221) in the second semester of the academic year 2008. The instruments used in this study were pre-test and post-test, and questionnaires surveying the subjects' satisfaction towards the developed medium. The data were analyzed through dependent t-test with the confidence level at 95%.
The result showed that the post-test scores were significantly higher than the pre-test
scores (p-value < 0.05). And the result of the questionnaires showed that the subjects were
very satisfied with the instructional VCD in terms of content, plot, and multimedia elements.
It can be concluded that the newly developed VCD can help enhance the students'
knowledge and skills on the effective autonomous basis.
How to cite!
วนิดา โอศิริพันธุ์ (2554). การพัฒนาสื่อประกอบการเรียนการสอนวีซีดี สำหรับปฏิบัติการเรื่อง ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 5(1), 19-28
Indexed in