วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การรับรู้ต่อประสบการณ์การเรียนวิชาภาคปฏิบัติของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Perception of Field Experience of Nursing Students, School of Nursing


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ต่อประสบการณ์การเรียนวิชาภาคปฏิบัติของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิตกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา2548และ2549คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิตจำนวน35คนเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแนวทางที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตมีการรับรู้ต่อประสบการณ์การเรียนภาคปฏิบัติ 4 ด้านคือ

1)สิ่งที่ได้จากการเรียนภาคปฏิบัติได้แก่ความรู้และประสบการณ์ตรงได้นำความรู้ทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ทำให้เกิดความเข้าใจจำได้ดีขึ้นทำให้ทำข้อสอบได้ดีขึ้นเกิดทักษะความชำนาญทำให้เข้าใจผู้ป่วยมากขึ้นยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเข้าใจพี่พยาบาลและเข้าใจพ่อแม่และผู้อื่นมากขึ้นอยากเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้นนอกจากนี้การฝึกภาคปฏิบัติมีผลต่อนักศึกษาในด้านต่างๆคือกล้าคิดกล้าตัดสินใจกล้าแสดงออกมีความมั่นใจมากขึ้นและมีเหตุผลมากขึ้นรู้จักและเข้าใจเพื่อนมากขึ้นเรียนรู้การปรับตัวกับเพื่อนปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและเรียนรู้การทำงานเป็นทีมและการประสานงานกับคนอื่นฝึกควบคุมสติเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ได้เรียนรู้การบริหารเวลาและเข้าใจบทบาทวิชาชีพคุณลักษณะพยาบาลวิชาชีพ

2)สิ่งที่ประทับใจ/สิ่งที่ไม่ประทับใจคืออาจารย์และพี่พยาบาลรถรับ-ส่งตัวอย่างที่ไม่ดี

3)อุปสรรค/วิธีการที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ได้แก่ความหลากหลายของผู้ป่วยมีน้อยอาจารย์ดุและมีแนวทางการสอนที่แตกต่างกันอีกทั้งงานที่มอบหมายมากเกินไปหนังสือในห้องสมุดมีน้อยและเก่านักศึกษาอ่านหนังสือน้อยทำให้ไม่เข้าใจริงและไม่มั่นใจในการตอบคำถามแหล่งฝึกไกลต้องตื่นแต่เช้าทำให้นอนไม่พอและมีเวลาศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยจาก Chart น้อย

4)ข้อเสนอแนะต่ออาจารย์และการจัดแผนการฝึกภาคปฏิบัติ

ผลการวิจัยครั้งนี้สะท้อนการรับรู้ต่อการเรียนวิชาภาคปฏิบัติของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิตรวมทั้งข้อเสนอแนะจากนักศึกษาซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงการเรียนการสอนภาคปฏิบัติและการพัฒนาหลักสูตรต่อไป

Abstract

The purpose of this descriptive study was to explore perception of field experience of nursing student, School of Nursing, Rangsit University. The 35 purposive sample composed of the third year and the forth year student were recruited for

interviewing.

The nursing student perceived that the field experience yield 4 categories :

1) Outcomes of the field experience were knowledge and direct experience, application of theory to practice which led to deep understanding, good memory and improve examination outcome. They gained better understanding about clients' situation, and nurses' situation, nurses' role and characteristics, their parents and others. Furthermore they gained better decision making, and self-confidence. They also learned and adjusted themselves to their classmate and environment and gained collaboration and team working experiences. They also learned how to control themselves and time management.

2) The impressive and non-impressive experiences were clinical instructor, nurses, inconvenience accommodation, and poor role model.

3) Obstacles were uncomplicated cases, serious instructor, assignment overload, insufficiency and out of date textbooks. According to the distance of the field study location and time rush, they could not study intensively and they could not have enough time to study client 's data from medical record.

4) Finally the suggestions concerned about clinical instructor and field study plan. The findings from this study provide relevant data for improving further field study planning and curriculum development.

Download in PDF (167.33 KB)

How to cite!

ดาริณี สุวภาพ, & นงนภัส วิสุทธิ. (2553). การรับรู้ต่อประสบการณ์การเรียนวิชาภาคปฏิบัติของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 4(2), 83-95

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in