การพัฒนาชุดการเรียนการสอนเรื่อง ระบบขับถ่าย
Development of the e-Learning Courseware Media on Excretory System
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อการสอนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการวิจัยในชั้นเรียนในรูปของชุดการเรียนการสอนเรื่องระบบขับถ่ายซึ่งบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนี้ใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาชีววิทยาทั่วไป 2 (BIO133) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่1คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิตที่ลงทะเบียนเรียนวิชาชีววิทยาทั่วไป 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 57 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนผ่านชุดการเรียนการสอนและมีการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดการเรียนการสอนในด้านเนื้อหาและในด้านการเรียนการสอน
ผลการวิจัยเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ในการคำนวณซึ่งได้จาก Pairedt-test ด้วยความเชื่อมั่น 95%ปรากฎว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบด้วยแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบก่อนเรียนซึ่งมีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และผลจากการประเมินความพึงพอใจพบว่าผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจมีทัศนคติต่อชุดการเรียนการสอนเรื่องระบบขับถ่ายในด้านเนื้อหาและในด้านการนำเสนออยู่ในระดับดีมากดังนั้นผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าสื่อการเรียนการสอนเรื่องระบบขับถ่ายชุดนี้มีคุณภาพดีมากทั้งในด้านเนื้อหาและในด้านการนำเสนอสามารถช่วยพัฒนาความรู้และเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองให้แก่ผู้เรียนได้มากขึ้น
Abstract
The purpose of this classroom research was to develop instructional media by using computer courseware for the course "Principle of Biology II" (BIO 133) on the topic of Excretory System. The subjects of the study included 57 first year Pharmacy students of Rangsit University who registered in the course during the second semester of the academic year 2007. The instruments used in this study were pre-test and post-test. In addition, the subjects' satisfaction towards the media in terms of content and implementation was also evaluated through the questionnaire.
Statistically analyzed through SPSS program based on paired t-test at 0.95 reliability level, the data showed that the post-test scores were significantly higher than the pre-test scores (p-value < 0.05). And it was found that the students were very satisfied with the courseware its content and presentation. It can be then concluded that this software on Excretory system is of good quality, helping students to develop knowledge and strengthen efficiency self-directed learning.
How to cite!
วัฒนา แซ่โหลว (2553). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนเรื่อง ระบบขับถ่าย. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 4(2), 14-23
Indexed in