การติดตามผลหลังการศึกษาวิชาการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม (ETH101) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต
The Follow up of the study of Ethics, Morals Promotion and Development of Students, Rangsit University
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนการสอนวิชาการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม (ETH101) และติดตามและประเมินพฤติกรรมหลังการศึกษาวิชาการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม (ETH101) ของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีสุ่มเลือกแบบไม่เจาะจง (RandomSampling) จากนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชา ETH101 รวม4รุ่นจำนวน 100 คนจาก 400 คนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือการวิเคราะห์เชิงพรรณา (DescriptiveStatistic) และการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ (AnalyticStatistic) ผลการวิเคราะห์พบว่าเป็นเพศหญิงมากที่สุดร้อยละ 81.0 อายุเฉลี่ย 19 ปี (SD=3.15) โดยมีเหตุผลที่ลงทะเบียนเรียนพบว่าอาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำให้ลงทะเบียน
จากการสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมค่าเฉลี่ยที่ตอบถูกเท่ากับ 8.44 ข้อ (SD=1.44) จาก10 ข้อนักศึกษาตอบผิดในเรื่องคนดีที่โลกต้องการคือคนที่ปฏิบัติตนถูกต้องตามใจตนเองโดยไม่ให้ใครเดือดร้อนการมีคุณค่าของความเป็นมนุษย์คือบุคคลที่อยู่ในสังคมชั้นสูงและการพัฒนาคุณธรรมฝึกฝนเพียงแค่ในระหว่างที่เรียนก็เพียงพอแล้วร้อยละ75,52 และ 32 ตามลำดับ
ข้อมูลเจตคติด้านคุณธรรมจริยธรรมพบว่านักศึกษาที่เคยเรียนวิชา ETH101 มีความคิดเห็นต่อกิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมในระดับมากถึงมากที่สุดประกอบด้วยการเห็นอาจารย์จะต้องยกมือไหว้กราบพ่อและแม่ก่อนเข้านอนการสวดมนต์/นั่งสมาธิทุกวันและการเข้าเรียนตรงเวลาและมีความคิดเห็นในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด(หมายถึงไม่ควรปฏิบัติ/หรือมีความเห็นว่าไม่ควร)ประกอบด้วยการอยู่หอพักเป็นคู่เป็นเรื่องปกติการเสพสิ่งเสพติดและเล่นการพนันการใส่เสื้อผ้ารัดรูปการปล่อยชายเสื้อออกนอกกระโปรงและกางเกงและทุจริตในการสอบในขณะที่ความคิดเห็นที่อยู่ในระดับปานกลางถึงน้อยที่สุดประกอบด้วยการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย/ใช้สินค้าราคาแพงและการพูดคุยระหว่างเรียน
ข้อมูลการปฏิบัติด้านคุณธรรมจริยธรรมความถี่การปฏิบัติของนักศึกษาที่เคยศึกษาวิชา ETH101 พบว่าปฏิบัติทุกวันในการทำความเคารพอาจารย์เมื่อเข้าห้องเรียนการมีสัมมาคารวะแต่งกายเรียบร้อยรวมถึงสวดมนต์ไหว้พระปฏิบัตินานๆครั้งถึงไม่เคยปฏิบัติในกิจกรรมการเกี่ยวข้องกับอบายมุขการคิดว่าร้ายผู้อื่นการขาดเรียนและเข้าเรียนสายและปฏิบัติสัปดาห์ละครั้งถึงนานๆครั้งคือทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคมและการนั่งสมาธิ
สำหรับข้อมูลความพึงพอใจด้านคุณธรรมจริยธรรมนักศึกษาที่เคยลงทะเบียนเรียนวิชา ETH101 พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดในเรื่องการมีกิริยามารยาทที่ดีต่อผู้อื่นการช่วยกิจการงานพ่อแม่ครูอาจารย์และการรู้เป้าหมายของชีวิตพึงพอใจมากในเรื่องการมองโลกในแง่ดีการแก้ปัญหาชีวิตโดยใช้หลักธรรมมีความจำในการอ่านหนังสือได้ดีขึ้นมีผลการเรียนดีขึ้นมีจิตใจดีคิดดีพูดดีมีสติจิตใจผ่องใสใจเย็น
Abstract
The objectives of this research were to follow up and to evaluate behaviors of students after studying Ethics, Morals Promotion and Development (ETH 101) and to assess the achievement of teaching and learning of this subject. The sample group was random sampling of 100 students from 4 classes of students who registered in ETH 101. The statistics used to analyze the data were Descriptive Statistics and Analytical Statistics.
It was found that the majority of students who registered for this course were female students with the percentage of 81.00%, and the average age was 19 years old. (SD=3.15). Students registered for this course because of the recommendation from their advisor. The results were concluded as follows:
1) For the knowledge of ethics and morals, it was found that students answered the questions incorrectly in three points. They preferred people who do everything by themselves just to follow their needs without causing any trouble for other people. They judged that people who live in the upper-class society have more value than others, and the improvement and practice of ethics and morals are already enough in the classroom during studying period with the percentage of 75%, 52% and 32% respectively. The mean of correct answers was 8.44 from the total of 10 (SD=1.44).
2) For attitudes of students towards ethics and morals, it was found that students had good attitudes towards activities related to ethics and morals, and they rated high to highest on the rating scale. These activities included paying respect to teachers and parents, praying and meditating everyday including attending classes on time. Students rated less to least on the rating scale for living together between male and female students is considered normal, taking drugs and gambling, wearing very tight clothes and dressing improperly to school, lastly cheating on the exams. Students rated moderate to less on spending money on expensive things and talking in class. It was found that students practiced activities relevant to ethics and morals everyday in terms of paying respect to teachers and parents, dressing properly and praying. Students seldom or never practiced gambling, accusing other people, skipping classes and attending class late. Students seldom practiced or practiced only once a week on doing community activities and meditating.
3) For the satisfaction of students related to ethics and morals, it was found that students who took this course were most satisfied at showing good manners to other people, helping parents and teachers and having their goal in life. Students were very satisfied at being optimistic, knowing how to solve problems by using Buddhist principles in order to have good memory for learning, having good thoughts and good mind, speaking well and being patient.
How to cite!
ชัชชญา พีระธรณิศร์ (2553). การติดตามผลหลังการศึกษาวิชาการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม (ETH101) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 4(1), 44-56
Indexed in