ผลของการเรียนแบบร่วมมือต่อผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาการพยาบาลพื้นฐานและพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาพยาบาล
The Effect of Co-operative Learning on Achievement and Team Working of Nursing Students
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimentalDesign) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนหลัง (OneGroupPre-PostTest) เพื่อศึกษาผลของการเรียนแบบร่วมมือต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลพื้นฐานและพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิตกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจำนวน84คนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการพยาบาลพื้นฐานในภาคการศึกษาที่2ปีการศึกษา2549การเรียนแบบร่วมมือใช้รูปแบบ Student Teams Achievement Division(STAD) เป็นแนวทางในการจัดสอนการฝึกปฏิบัติการหัตถการทางการพยาบาลรวม 9 หัวข้อ ได้แก่การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกายการตรวจสัญญาณชีพและการเช็ดตัวลดไข้การให้ออกซิเจนและการดูดเสมหะการทำความสะอาดร่างกายและการทำเตียงการดูแลเกี่ยวกับอาหารน้ำและอิเล็กโทรไลต์การสวนปัสสาวะและการสวนอุจจาระการดูแลผู้ป่วยที่มีแผลและการให้ยา
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วยแผนการสอนแฟ้มสะสมภาพหัตถการทางการพยาบาล และคู่มือการเรียนแบบร่วมมือเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบทดสอบความรู้และแบบสอบถามพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มซึ่งแบบทดสอบความรู้ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน5คนตรวจสอบความยากง่าย(DifficultyIndex)ได้ค่า.394 อำนาจจำแนก (DiscriminationIndex) ได้ค่า .201 ส่วนแบบสอบถามพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มได้รับการตรวจสอบความเชื่อมั่นชนิดความสอดคล้องภายในด้วยสถิติสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคได้ค่า .92 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา Wilcoxon Signed Ranks Test และFriedman Test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่าการเรียนแบบร่วมมือมีผลทำให้นักศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p=.000) และส่วนใหญ่ (ร้อยละ73.8) มีผลการเรียนระดับ B ขึ้นไปแต่การเรียนแบบร่วมมือไม่มีผลต่อคะแนนพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมโดยภาพรวมอย่างไรก็ตามพบว่าพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมด้านการติดต่อสื่อสารและการสร้างบรรยากาศการทำงานเป็นทีมแตกต่างจากก่อนการเรียนแบบร่วมมืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.004และp=.008ตามลำดับ) และผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือทำให้มีความรับผิดชอบในตนเองมากขึ้นมีความมั่นใจในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและช่วยเหลือระหว่างเพื่อนมากขึ้น
ผลการวิจัยนี้สนับสนุนการใช้การเรียนแบบร่วมมือในการสอนการฝึกปฏิบัติการหัตถการทางการพยาบาลในรายวิชาการพยาบาลพื้นฐาน
Abstract
The purpose of this quasi-experimental study was to investigate the effect of the co-operative learning program on academic achievement and team working in fundamental nursing course. Student Teams Achievement Division (STAD) was used as a conceptual framework. A sample of 84 nursing students who enrolled fundamental nursing course in the academic year of 2005 was purposively recruited for this study.
The subjects participated in 9 laboratory nursing procedures including:
(1) infection control
(2) mobility, movement, and exercise
(3) vital signs measurements
(4) oxygenation and suction
(5) hygiene care and bed making
(6) nutrition, fluid and electrolytes
(7) urinary catheterization, and enema
(8) wound care, and
(9) medication administration.
Instruments used in the teaching-learning process were Lesson Plans, Portfolio of nursing procedures and student manual for co-operative learning in nursing Laboratory. Data were collected by using Demographic data form, the Knowledge test, and the Team Working Questionnaire. The content validity of all instruments was confirmed by the panel of experts. The difficulty and discrimination indices of the Knowledge test were .394 and .201 respectively. The internal consistency of the Team Working Behavior Scale was .92. Quantitative data were analyzed by using
descriptive statistics, Wilcoxon Signed Ranks Test and Friedman Test. Content analysis was used to analyze the qualitative data.
The results revealed that the mean scores of knowledge before learning was significantly higher than that of after learning and 73.8% of the sample attained an equal or higher than grade B. Although the mean scores of team working before andafter, were not significantly different, the mean scores of the communication and learning environment domains (between before and after learning) were significantly different (p= .004 and p= .008 respectively). Qualitative data showed that the students were satisfied with the learning process, more responsible, good in relationship with their friends and instructors, and confident in sharing knowledge and experiences in learning process. Thus, co-operative learning benefits students' academic achievement in the fundamental nursing course, especially for laboratory nursing practice.
How to cite!
มนสภรณ์ วิทูรเมธา, & น้ำอ้อย ภักดีวงศ์. (2553). ผลของการเรียนแบบร่วมมือต่อผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาการพยาบาลพื้นฐานและพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 4(1), 18-28
Indexed in