วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ 1 ของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 1

Factors Affecting First Year Engineering Students' Learning Achievement in the Course: Physics 1


บทคัดย่อ

ในการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย

ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ 1 ของ

นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 กลุ่ม  ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนเรียนวิชาฟิสิกส์ 1ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 62 คนได้มาโดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม เรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ 1 ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 และคะแนนประเมินผลการเรียนวิชาฟิสิกส์ 1 (PHY121) ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2551 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ 1 ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 1 สูงสุด ได้แก่ ปัจจัยด้านตัวนักศึกษาในส่วนพฤติกรรมการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักศึกษา ข้อที่ส่งผลมากคือ ถึงแม้ว่าบทเรียนจะยากนักศึกษาก็พยายามทำความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน (r = .579)รองลงมาคือ เจตคติของนักศึกษาที่มีต่อวิชาฟิสิกส์ได้แก่ วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่นักศึกษาสนใจ (r = .474) และสภาพทั่วไปของนักศึกษา ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยสะสม (r = .457) ปัจจัยทั้งสามข้อนี้ มีความสัมพันธ์กันทางบวกกับคะแนนประเมินผลการเรียนวิชาฟิสิกส์ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p ≤.05)

2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับคะแนนประเมินผลการเรียนวิชาฟิสิกส์ 1 พบว่าปัจจัยด้านตัวนักศึกษา ได้แก่ ด้านพฤติกรรมในการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักศึกษาและด้านเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อวิชาฟิสิกส์ มีความสัมพันธ์กันทางบวกกับคะแนนประเมินผลการเรียนวิชาฟิสิกส์1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p ≤ .05) ส่วนปัจจัยด้านตัวนักศึกษา ได้แก่ สถานภาพทั่วไปของนักศึกษา ปัจจัยด้านการสอนของอาจารย์ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ครอบครัว และสังคมของนักศึกษามีความสัมพันธ์กับกับคะแนนประเมินผลการเรียนวิชาฟิสิกส์ 1 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p >.05)

Abstract

The purposes of this research were to study those factors affecting learning achievement of first-year engineering students who studied Physics I. The sample group was 62 first-year engineering students who registered for Physics I in semester 1 of academic year 2008. The samples were selected by using a purposive sampling method. The research instruments used in this study were questionnaires for students' opinions on factors affecting learning achievement in Physics I and the scores on Physics obtained by students who studied Physics I (PHY121) in semester 1 of academic year 2008. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and correlation, through SPSS/PC+ program.

The results of the study were as follows:

1. The top of three ranking factors that  affected learning achievement of students who  studied Physics I were the students' learning  behavior in this subject. Although the lessons  were difficult, they would keep trying hard (r =.579), then the students' attitudes toward Physics(r = .579) and lastly the students' grade pointaverage (GPA) (r = .474). The three factors which showed positive relationship towards learning achievement was statistically significant. (p ≤.05)

2. From all factors affecting first year engineering  students' learning achievement in  Physics I, we found that the students' behavior  and their attitudes towards physics had positive relationship on their scores in this subject which was statistically significant. (p ≤ .05) In addition,  other factors such as the students'background,  including their family, economic and  social life and the teacher's teaching were not statistically significant. (p >.05)

Download in PDF (171.02 KB)

How to cite!

ปรียา อนุพงษ์องอาจ (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ 1 ของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 1. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 3(2), 35-44

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in