วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การศึกษาประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม และสมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดชัยภูมิ

The Study of Grade 12 Students’Environmental Experience and Action Competence for Environment in Chaiyaphum Province


วันที่ส่งบทความ: 14 เม.ย. 2566

วันที่ตอบรับ: 2 มิ.ย. 2566

วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2567


บทคัดย่อ

สมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นเป้าหมายสำคัญในการเตรียมพลเมืองด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาขององค์การสหประชาชาติ และถูกเน้นย้ำในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทย แต่งานวิจัยที่ผ่านมา   ชี้ว่ากิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนส่วนใหญ่มักละเลยการพัฒนานักเรียนในสมรรถนะนี้ ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาประสบการณ์เดิมด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาระดับสมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำแนกตาม เพศ แผนการเรียน และประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 191 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อจำแนกรูปแบบประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียน และแบ่งระดับสมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนออกเป็น 3 ระดับ ตามคะแนนเฉลี่ย จากนั้นทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยด้านปัจจัยเพศ แผนการเรียน และประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 94.12) มีประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในลักษณะการปฏิบัติทางตรง 2) นักเรียนส่วนใหญ่มีสมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อมในระดับปานกลาง (ร้อยละ 57.07) โดยมิติของสมรรถนะการปฏิบัติที่นักเรียนขาดมากที่สุด คือ ความรู้ที่เอื้อให้เกิดการปฏิบัติ และ 3) นักเรียนที่มีประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมมีคะแนนสมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อมสูงกว่านักเรียนที่ไม่มีประสบการณ์ดั งนั้นงานวิจัยเสนอแนะว่ากิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยความเข้าใจร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม 

Abstract

Action competence (AC) for environment is an essential goal in preparing citizens for environmental education stipulated by the United Nations, and it was also emphasized in Thailand’s National Economic and Social Development Plan. However, literature indicates most environmental activities in schools tend to neglect students’ development of AC. Therefore, this research aimed to 1) explore Grade 12 students’ environmental experiences, 2) explore Grade 12 students’ AC level, and 3) compare AC’ average scores based on the three factors: sex, program, and experience. The sample was 191 students in Grade 12 from a school in Chaiyaphum Province. Data were collected by a questionnaire. The researchers used content analysis to classify patterns of the children’s environmental experience, while the students’ AC levels were classified into 3 levels according to their AC average scores. The mean scores on gender, study plan, and environmental experiences were compared to determine if these factors influenced the children’s AC level.

The results showed that 1) most students (94.12%) used to have direct experience doing something about the environment, 2) the majority of them presented AC at the moderate level (57.07 %). It was found that the AC dimension by which many students lacked most was “knowledge for action”, and 3) students with environmental experiences presented a higher score on the AC than those with non-environmental experiences. Therefore, it was suggested that environmental activities in schools should be provided to students to offer them opportunities to work with other stakeholders in the community in solving environmental problems with genuine understanding of the problems.

Download in PDF (582.42 KB)

How to cite!

สุริยะ คุณวันดี, & จีระวรรณ เกษสิงห์. (2567). การศึกษาประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม และสมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(2), 179-195

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2563). คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ.  กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

จีระพงษ์ คนงาม, ประยูร วงศ์จันทรา, สุรศักดิ์ แก้วงาม, และพนัส โพธิบัติ. (2565). การพัฒนาคู่มือการเรียนรู้อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย เพื่อสร้างเสริมความรู้ ทัศนคติ และจริยธรรมสิ่งแวดล้อม. วารสารวิทยาการสิ่งแวดล้อมไทย, 5(4), 40-54.

จีระวรรณ เกษสิงห์, สุชาวดี เกตชนก, และศรายุทธ ชาญนคร. (2566). สมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อม: มุมมองใหม่ของผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 34(1), 1-19.

จุไรรัตน์ ทองคำชื่นวิวัฒน์. (2553). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารชีวภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม. วารสารจันทรเกษมสาร, 16(31), 64-74.

ชลิดา จูงพันธ์, และนฤพจน์ พุธวัฒนะ. (2563). การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Eco-school): กรณีศึกษาโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 11(1), 115-130.

นิติกร อ่อนโยน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(3), 75-88.

วัฒนพงศ์ เขียวเหลือง, สิรินภา กิจเกื้อกูล, และมลิวรรณ นาคขุนทด. (2564). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อม เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(2), 257-268.

ศิวาลัย สุทธิประภา, ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร, และอรพรรณ บุตรกตัญญู. (2565). ผลของการใช้ชุดกิจกรรม “เด็กปฐมวัยรู้รักสิ่งแวดล้อม” ที่มีต่อการรู้สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 352-365.

สุจิตตา โยวะผุย, และคงศักดิ์ ธาตุทอง. (2552). ผลการดำเนินงานของโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Eco-school) กรณีศึกษา โรงเรียนในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 9(4), 114-122.

สุธี พลมาศ, และสุรีย์พร สว่างเมฆ. (2564). การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการโต้แย้งเพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อม เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(3), 315-327.

Almers, E. (2013). Pathways to Action Competence for Sustainability—Six Themes. The Journal of Environmental Education, 44(2), 116-127.

Best, J.W. (1977). Research in Education (3rd ed.). New Jersey : Prentice Hall.

Breiting, S., & Mogensen, F. (1999). Action Competence and Environmental Education. Cambridge Journal of Education, 29(3), 349-353.

Ceaser, D. (2012). Our School at Blair Grocery: A Case Study in Promoting Environmental Action Through Critical Environmental Education. The Journal of Environmental Education, 43(4), 209-226.

Chawla, L. (2009). Growing Up Green: Becoming an Agent of Care for the Natural World. The Journal of Developmental Processes, 4(1), 6-23.

Chen, S.-Y., & Liu, S.-Y. (2020). Developing Students’ Action Competence for a Sustainable Future: A Review of Educational Research. Retrieved from https://www.mdpi.com/2071-1050/12/4/1374.

Gottlieb, D., Vigoda-Gadot, E., & Haim, A. (2013). Encouraging ecological behaviors among students by using the ecological footprint as an educational tool: a quasi-experimental design in a public high school in the city of Haifa. Environmental Education Research, 19(6), 844-863.

Hsu, S. J. (2009). Significant life experiences affect environmental action: A confirmation study in eastern Taiwan. Environmental Education Research, 15(4), 497–517.

Jensen, B. B., & Schnack, K. (1997). The Action Competence Approach in Environmental Education. Environmental Education Research, 3(2), 163-178.

Jensen, B. B., & Schnack, K. (2006). The action competence approach in environmental education. Environmental Education Research, 12(3-4), 471-486.

Ketlhoilwe, M. J. (2007). Environmental education policy interpretation challenges in Botswana schools. Southern African Journal of Environmental Education, 24, 171–184.

Kollmuss, A., & Agyeman, J. (2002). Mind the gap: Why do people act environmentally and what are the barriers to pro-environmental behavior? Environmental Education Research8(3), 239–260.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement30(3), 607-610.

Kyburz-Graber, R. (2020). 50 years of environmental research from a European perspective. The Journal of Environmental Education, 50(4-6), 378-385.

Li, D., & Chen, J. (2015). Significant life experiences on the formation of environmental action among Chinese college students. Environmental Education Research, 21(4), 612-630.

Liefländer, A. K., & Bogner, F. X. (2014). The effects of children's age and sex on acquiring pro-environmental attitudes through environmental education. The Journal of Environmental Education45(2), 105-117.

Mezirow, J. (1985). Concept and action in adult education. Adult Education Quarterly, 35(3), 142-151.

Olsson, D., Gericke, N., Sass, W., & Boeve-de Pauw, J. (2020). Self-perceived action competence for sustainability: the theoretical grounding and empirical validation of a novel research instrument.  Environmental Education Research, 26(5), 742-760.

Olsson, D., & Sund, P. (2021). Action competence and key competences for sustainability. Retrieved from https://weec2022.org/programme/themes/#themes2.

Piasentin, F. B., & Roberts, L. (2018). What Elements In A Sustainability Course Contribute To Paradigm Change And Action Competence? A Study At Lincoln University, New Zealand.  Environmental Education Research, 24(5), 694-715.

Sass, W., Pauw, J. B.-d., Maeyer, S. D., & Petegem, P. V. (2021). Development and validation of an instrument for measuring action competence in sustainable development within early adolescents: the action competence in sustainable development questionnaire (ACiSD-Q). Environmental Education Research, 27(9), 1284-1304.

Schusler, T. M., Krasny, M. E., Peters, S. J., & Decker, D. J. (2009). Developing citizens and communities through youth environmental action. Environmental Education Research15(1), 111–127.

Silo, N. (2013). Dialogue—Missing in Action Competence: A Cultural Historical Activity Theory Approach in a Botswana School. The Journal of Environmental Education, 44(3), 159-179.

UNESCO. (1978). Intergovernmental conference on environmental education. Retrieved from https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000032763

United Nations. (2015). Transforming our world: the 2030 agenda for sustainable development. New York: United Nations, Department of Economic and Social Affairs.

United Nations. (2022). United Nations Climate Change Conference (COP27). Retrieved from https://unfoundation.org/cop27/?gclid=EAIaIQobChMI472Qz9nz-wIVsjdyCh3hFwkBEAAYAiAAEgIqc_D_BwE.

Zhan, Y., He, R., & So, W. W. M. (2019). Developing elementary school children’s water conversation action competence: a case study in China. International Journal of Early Years Education, 27(3), 287-305.

 

 

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in