การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงการด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อเสริมสร้างการรู้คิดในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ
Developing a Project Learning Model with a Research Process to Enhancing Creative Problem-Solving Cognition for Students, Rajabhat University.
วันที่ส่งบทความ: 11 พ.ค. 2566
วันที่ตอบรับ: 3 ก.ค. 2566
วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงการด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อเสริมสร้างการรู้คิดในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1. ศึกษาและสังเคราะห์องค์ประกอบข้อมูลโครงสร้างของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการสัมภาษณ์ และสอบถามนักศึกษา 2. พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงการด้วยกระบวนการวิจัยสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1) การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงการด้วยกระบวนการวิจัย 2) ทดลองใช้และผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงการด้วยกระบวนการวิจัย โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 5 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คนจากนักศึกษา 2 หมู่เรียน ของสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยจำนวน 60 คน 3. ผลการสะท้อนการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และใช้สถิติทดสอบค่า t (t-test) และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงการด้วยกระบวนการวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นวิเคราะห์บริบทจากแหล่งเรียนรู้ 2) ขั้นวางแผนการเรียนรู้ 3) ขั้นเรียนรู้จากการปฏิบัติ 4) ขั้นสรุปองค์ความรู้ และ 5) ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด 2. ผลการพัฒนาและการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและนักศึกษาหลังการจัดการเรียนรู้มีการรู้คิดในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์โดยภาพรวม สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ได้ผลรวมคือร้อยละ 87.92 และผลประเมินการใช้รูปแบบอยู่ระดับมากที่สุด (=4.54, SD=0.48) และ 3. ผลการสะท้อนการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์มี 4 ด้านดังนี้ ด้านการริเริ่มวิเคราะห์ปัญหาอยู่ระดับมาก (=4.03, SD=0.48) ด้านการวางแผนและออกแบบอยู่ระดับมากที่สุด (=4.73, SD=0.44) ด้านกระบวนการปฏิบัติกิจกรรมอยู่ระดับมาก (= 4.13, SD=0.34) และด้านสะท้อนคิดองค์ความรู้อยู่ระดับมาก (=3.83, SD=0.37)
Abstract
The research aimed to develop a project-based learning management model with a research process to enhance creative problem-solving cognition for Rajabhat University students, which consisted of 3 steps: 1. Study and synthesize elements of the structure of the interview learning model by asking the students. 2.Develop a project-based learning management model with a research process for Rajabhat University students, which was conducted into two phases--1) creating a project-based learning management model with a research process.2) trying out and collecting results of using a project-based learning management model with a research process by using the One-Group Pretest-Posttest Experimental Research Design. The samples were fifth-year students of Phetchabun Rajabhat University selected by simple random sampling method, totaling 30 students from 2 groups in the Early Childhood Education Program of 60, 3. Students’ reflection of using the learning management model was analyzed and t-test statistics and percentage values were adopted for quantitative data analysis.
The research results were as follows: 1) The development of a project-based learning management model with a research process consisted of 5 steps: first, context analysis from learning resources, second, learning planning step, third, Learning from practice, fourth, the knowledge summary stage and fifth, the exchange of knowledge and ideas. 2) The results of the development and experimentation of the learning management model were found to be appropriate at the ‘highest’ level and the students after the learning management showed overall creative problem-solving knowledge. Above the 80 percent threshold, the total result was 87.92 percent, and evaluation results using the model were at the ‘highest’ level ( = 4.54, SD = 0.48). 3) The reflection effect of the learning management that promotes creative problem-solving knowledge was present in 4 areas as follows: the initiative to analyze problems was at the high level (=4.03, SD=0.48), planning and design was at the highest level (=4.73, SD=0.44), activity process was at the high level (= 4.13, SD=0.34) and reflection on knowledge was at the high level (=3.83, SD=0.37).
Keywords
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ; แบบโครงการ ; กระบวนการวิจัย ; การรู้คิดในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์; Learning management model; Project model; Research process; Creative problem-solving cognition
How to cite!
สรวงพร กุศลส่ง (2567). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงการด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อเสริมสร้างการรู้คิดในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(2), 159-178
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ฉัตรนภา พรหมมา, และคณะ. (2561). สานพลังวิจัย มหาวิทยาลัยคู่ชุมชนท้องถิ่น. อุตรดิตถ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ชนกนารถ ชื่นเชย. (2550). รูปแบบการจัดการศึกษาต่อเนื่องในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ปริญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ซาฟีนา หลักแหล่ง. (2552). ผลของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เท คโนโลยีและสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน จังหวัดปัตตานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
นภัส ศรีเจริญประมง, และวราลี ถนอมชาติ. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความเป็น พลเมืองประชาธิปไตยของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารวิจัยรำไพพรรณี,13(3), 182-190.
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2555). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน.
ลัดดา ศิลาน้อย, และอังคณา ตุงคะสมิต. (2553). เอกสารประกอบการอบรมเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยโครงงาน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(4), 1-16.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สรวงพร กุศลส่ง. (2564). แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการรู้คิดในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 23(2), 9-21.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไข. เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). การศึกษาและพัฒนาด้านระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
สิทธิชัย ชมพูพาทย์. (2553). การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของครูและนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Alkin, M.C. (2004). Evaluation Roots :TracingTheorists'View and Influences. Thousand Oaks, Calif: Sage.
Flavell, J.F. (1979). Metacognition and Cognitive Monitoring: A New Area of Cognitive- Development Inquiry. American Psychologist, 34(10), 906-911.
Isaksen, S. G., & Treffinger, D. J. (2004). Celebrating 50 years of reflective practice: versions of creative problem solving. Journal of Creative Behavior, 38(2), 75–101. Retrieved from https://docs.wixstatic.com/ugd/915b8a_26e5c4a398d54d3c9689d90169cbabc1
Knoll, M. (1996). Faking a dissertation : Ellsworth Collings, William H. Kilpatrick, and the “Project. Curriculm,” Curriculm Studies, 28(2), 193-223.
Schmidit, H.G. (1983).Problem-Based Learning: Rationale and Description. Medical Education, 17, 11-16.
Torrance, E. P. (1962). Guiding creative talent. NJ: Prentice-Hall.
Treffinger, D.J., Isaksen, S.G. (2005). Creative problem solving: the history, development, and implications for gifted education and talent development. Gifted child quarterly,49(4), 342-53.
Treffinger, D.J., Isaksen, S. G., & Dorval, K. B. (2010). Creative problem solving (CPS version 6.1™) A contemporary framework for managing change. CCL: Center for Creative Learning. Retrieved from https://www.creativelearning.com/images/freePDFs/CPSVersion61.pdf
Indexed in