วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและความเป็นนวัตกร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

The Development of Science Instructional Model to Enhance Creative Innovation and Innovator of Upper Secondary School Students


วันที่ส่งบทความ: 26 ม.ค. 2566

วันที่ตอบรับ: 16 ก.พ. 2566

วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2567


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและความเป็นนวัตกร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและความเป็นนวัตกร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 28 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินการสร้างนวัตกรรม 4) แบบประเมินความเป็นนวัตกร และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและความเป็น
นวัตกร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่
(1) หลักการ (2) จุดมุ่งหมาย (3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ (KRUVIT Model) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน-- (3.1) การสร้างความสนใจ (Keenness) (3.2) การสำรวจและค้นหา (Reviewing) (3.3) การสร้างองค์ความรู้ (Utilization) (3.4) การนำไปสู่นวัตกรรม (Viability to Innovation) (3.5) การตรวจสอบและประเมินผล (Inspection) และ (3.6) การนำเสนอและเผยแพร่ (Transference) (4) การวัดและประเมินผล และ (5) เงื่อนไขการนำไปใช้ ซึ่งประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและความเป็นนวัตกร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า (2.1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2.2) นักเรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอยู่ในระดับดีมาก (2.3) นักเรียนมีความเป็นนวัตกรอยู่ในระดับดีมาก และ (2.4) นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this study were to 1) develop and find the quality of science instructional model to enhance creative innovation and innovatorship of upper secondary school students, and 2) study the effectiveness of the instructional model. The sample of the research were 28 upper secondary school students of Thamakavitthayakom School selected by simple random sampling. The instruments of the research were 1) a learning management plan 2) an achievement test 3) a creative innovation assessment form 4) an innovatorship assessment form and 5) a student satisfaction questionnaire towards the instructional model. Data were collected and analyzed by mean, standard deviation, content analysis, and a dependent t-test.

The research findings were as follows: 1) The instructional model consisted of 5 components; (1) the principle (2) the objective (3) the instructional process named KRUVIT Model consisting of 6 steps: (3.1) Keenness (3.2) Reviewing (3.3) Utilization (3.4) Viability to Innovation (3.5) Inspection and (3.6) Transference (4) Measurement and evaluation (5) Condition for Effective Application. The model was evaluated by experts and found that the appropriateness was at ‘highest’ level. 2) The effectiveness of the instructional model was as follows: (2.1) the students’ achievement after implementing the instructional model were higher than before attending to the class at a statistically significant score of .05, (2.2) students were found to have creative innovation at the highest level, (2.3) the level of innovatorship among the students in the study was at the highest level, and (2.4) students displayed satisfaction towards the instructional model at the highest level. 

Download in PDF (942.41 KB)

How to cite!

รติ จิรนิรัติศัย, & ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2567). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและความเป็นนวัตกร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(2), 146-158

References

จินตนา ศิริธัญญารัตน์.  (2563).  การออกแบบระบบการเรียนการสอน.  นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน, และคณะ.  (2564).  การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน.  นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เนาวนิตย์ สงคราม.  (2562).  การสร้างนวัตกรรม.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พีชญาณ์ พานะกิจ.  (2558).  การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐมมหาวิทยาลัยศิลปากร.

มาเรียม นิลพันธุ์.  (2558).  วิธีวิจัยทางการศึกษา.  นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิภาพรรณ พินลา, และวิภาดา พินลา.  (2565).  การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาสำหรับนิสิตวิชาชีพ.  วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(1), 155-168

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.  (2555).  การวัดและประเมินผลวิทยาศาสตร์.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ.  (2563).  การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด STEAM เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐมมหาวิทยาลัยศิลปากร.

Arends, R.  (2001).  Learning to Teacher.  Singapore: McGraw -Hill.

Biggs, J. B., & Moore, P. J.  (1993).  Process of Learning.  Sydney: Practice-Hall.

Dick, W., Carey, L., & Carey, J. O.  (2005).  The systematic design of Instruction/Water Dick, Lou Carey, James O. Carey. Boston: Pearson/Allyn and Bacon.

Fosnot, C. L.  (1996).  Constructivism: A psychological theory of learning. In C. T. Fosnot (Ed.), Constructivist: Theory, perspectives, and practice.  New York: Teachers College Press.

Hughes, T.P.  (2004).  Human-built world: How to think about technology and culture.  Chicago: University of Chicago Press.

Joyce, B. & Weil, M.  (2009).  Models of teaching.  London: Pearson Education.

Vasquez, J. A., Sneider, C., & Comer, M.  (2013).  STEM Lesson Essentials: Integrating Science Technology Engineering and Mathematics.  Portsmouth, NH: Heinemann.

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in