วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การจัดการเรียนรู้ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ โดยใช้รูปแบบ MACRO Model เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่ง

Learning Management of the Content Entitled Interactions in the Solar System and Space Technology Using MACRO Model for Promoting Critical Thinking in Grade 9 Students, an Educational Opportunity Expansion School


วันที่ส่งบทความ: 8 พ.ค. 2566

วันที่ตอบรับ: 2 มิ.ย. 2566

วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2567


บทคัดย่อ

การวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้รูปแบบ MACRO Model เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ ในการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่ง 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่ง เมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO Model ผู้เข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คนซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จาก 1 ห้อง ของโรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO Model เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ รายวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้        3) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 4) ใบงานประกอบการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณ ใช้การหาค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์ผล

           ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO Model ควรเป็นดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างแรงจูงใจ ต้องมีการนำเข้าสู่บทเรียนด้วยสื่อที่น่าสนใจ เพื่อชักนำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้างประเด็นการเรียนรู้ ขั้นที่ 2 ขั้นการเรียนรู้โดยตรง ต้องมีการสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปองค์ความรู้ ต้องเน้นให้ผู้เรียนใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณในการอภิปรายกัน และตัดสินหาข้อสรุปเกี่ยวกับประเด็นที่ตั้งไว้ เมื่อได้ข้อสรุปแล้วต้องนำมาสร้าง infographics เพื่อนำไปเผยแพร่ ดังนั้นผลงานที่ผู้เรียนสร้างขึ้นต้องมีความน่าเชื่อถือ ขั้นที่ 4 ขั้นรายงานและนำเสนอ นำผลงานที่สร้างขั้นมานำเสนอหน้าชั้นเรียน เพื่อให้เพื่อนร่วมชั้นเรียนอภิปรายความถูกต้องของผลงาน ก่อนที่จะนำไปเผยแพร่บนช่องทางออนไลน์ และขั้นที่ 5 ขั้นเผยแพร่ความรู้ ต้องเลือกสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้องค์ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมมาวิเคราะห์ เพื่ออธิบายสถานการณ์ที่ผู้วิจัยกำหนดให้ได้ ผลการศึกษาข้อที่ 2) ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ เพิ่มสูงขึ้นจากก่อนเรียน โดยการวัดจากแบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน ซึ่งก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ย 11.85 คะแนน หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 18.95 คะแนน ดังนั้นคะแนนที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 59.91

Abstract

This action research aimed to 1) study the development of learning activity through MACRO Model in the content entitled interactions in the solar system and space technology for Grade 9 students at an educational opportunity expansion school 2) study the development of critical thinking in content entitled interactions in the solar system and space technology for Grade 9 students. The participants consisted of 20 students in Grade 9 selected by purposive sampling technique. The research instruments were 1) lesson plans through MACRO Model in the content entitled interactions in the solar system and space technology for Grade 9 students in science. 2) The reflective learning management form. 3) The critical thinking test and 4) The critical thinking worksheets. The qualitative data was analyzed by content analysis, while the quantitative data was analyzed by mean.

The research results showed that 1) the learning activity through MACRO Model should follow the steps below. The first step was motivation building.  Students constructed their own learning points through interesting media. The second step was direct learning. Students were encouraged their critical thinking skills by search for information from multiple sources. The next step was Conclusion. Students used their critical thinking to discus and conclude the learning point in groups. After that, students designed an infographic for publishing the body of knowledge. Fourthly, reporting through infographic presentation and then classmates reflected their work before publishing it on an online platform. The last step was Dissemination. Students worked on a new situation similar to that of the previous lesson that required students to use their knowledge to analyze the given situation. The second result showed the increase of critical thinking in the content entitled interactions in the solar system and space technology for Grade 9 students that was measured by the critical thinking test. The pre-test average point was 11.85 points and the post-test average point was 18.95 points.  The increase point was 59.91 %.

Download in PDF (921.64 KB)

How to cite!

ภานุชนารถ ชัยวงค์, & สุริยา ชาปู่. (2567). การจัดการเรียนรู้ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ โดยใช้รูปแบบ MACRO Model เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่ง. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(2), 131-145

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2569) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯโรงพิมพ์ชุมชมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณัฐนันท์ บุญเพ็ญ. (2563). ผลการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสืบสวนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถในการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ต่างกัน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร

ดิเรก วรรณเศียร. (2559). MACRO Model: รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ทิชพร นามวงศ์. (2560). การออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. วารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 4(4), 14-25.

ธนพร เลิศโพธาวัฒนา. (2561). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา ชีววิทยา เรื่อง ยีนและโครโมโซม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 MACRO Model ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต

ธีรนันท์ ศรีวิทัศน์ และคณะ. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้วีดีโอบนยูทูปร่วมกับแนวคิดการสอนภาษา เพื่อการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง และพูดภาษาอังกฤษ ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ภิญโญ วงษ์ทอง. (2564). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์บนฐานวิถีชีวิตใหม่ สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาตอนหลาย. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(43), 101 – 115.

ลดาวัลย์ แย้มครวญ. (2559). การออกแบบและพัฒนาเกมเพื่อการเรียนรู้สำหรับคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ล้วน สายยศ, และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

สุดคะนึง นฤพนธ์จิรกุล. (2561). การออกแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้ฉากสถานการณ์เป็นฐาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 16 – 28

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน. (2560) โครงการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... (หลักสูตรฐานสมรรถนะ). สืบค้น 8 สิงหาคม 2565, จาก https://cbethailand.com/หลักสูตร-2/กรอบหลักสูตร/บทนำ/

อภิญญา ตั้งประสิทธิ์ศิลป์. (2562). ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลข่าวสารบนเฟซบุ๊กที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งต่อข้อมูลข่าวสารของผู้ใช้สื่อสังคม ในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญาหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in