วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่ง

Phenomenon-Based Learning for Promote Conceptual and Climate Change Awareness of Grade Six Students, an Educational Opportunity Expansion School


วันที่ส่งบทความ: 18 เม.ย. 2566

วันที่ตอบรับ: 2 มิ.ย. 2566

วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2567


บทคัดย่อ

การวิจัยปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานในการส่งเสริมมโนทัศน์และความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และศึกษาผลการส่งเสริมมโนทัศน์และความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้เข้าร่วมวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่งในจังหวัดพิจิตรโดยการเลือกแบบเจาะจงจำนวนทั้งหมด 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดมโนทัศน์เรื่องปรากฏการณ์โลกและภัยธรรมชาติ และแบบประเมินความตระหนักต่อสภาพภูมิอากาศ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3 วงจร การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า

พบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานในการส่งเสริมมโนทัศน์และความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของนักเรียน มี 5 ขั้นตอน คือ (1) การเลือกปรากฏการณ์ที่มีความเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศโลกที่มีความน่าสนใจรวมถึงมีการบูรณาการองค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ในการเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาบทเรียน (2) การสร้างคำอธิบายเบื้องต้น โดยใช้มโนทัศน์ของนักเรียนเกี่ยวกับเรื่อง ปรากฏการณ์โลกและภัยธรรมชาติ และองค์ความรู้ในด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (3) การทำกิจกรรรมทดลองและการสืบค้นเพื่อตรวจสอบคำอธิบายปรากฏการณ์เบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศของนักเรียน (4) การรวบรวมคำอธิบายสุดท้ายโดยการนำข้อมูลที่ได้จากการทำกิจกรรมมาวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อสร้างหรือปรับปรุงคำอธิบายสุดท้ายของปรากฏการณ์และ (5) การนำเสนอคำอธิบายของปรากฏการณ์สภาพภูมิอากาศ และอภิปรายให้เหตุผลถึงคำตอบของประเด็นคำถามเกี่ยวกับปรากฏการณ์สภาพภูมิอากาศ เพื่อสะท้อนความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศของนักเรียน และ2) ผลการส่งเสริมมโนทัศน์ เรื่องปรากฏการณ์โลกและ
ภัยธรรมชาติ พบว่าหลังการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีการพัฒนามโนทัศน์เรื่อง ปรากฏการณ์โลกและภัยธรรมชาติ โดย
มโนทัศน์เรื่อง ภัยธรรมชาติมีการพัฒนามากที่สุด โดยมีนักเรียนอยู่ในกลุ่มโนทัศน์ระดับสมบูรณ์ (
CU) ร้อยละ 20 และ
ผลการส่งเสริมความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่าคะแนนเฉลี่ยความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานในภาพรวมสูงกว่าก่อนเรียนจากระดับปานกลางเป็นระดับมาก

Abstract

The objectives of action research were to study the phenomenon-based learning management to promote the students' concept on the phenomenon of the world and natural disasters and climate change awareness of Grade 6 students, and to examine the effects of promoting their concept on the phenomenon of the world and natural disasters and climate change awareness using the phenomenon-based learning management for Grade 6 students. The research participants were 20 grade 6 students from an educational opportunity expansion school in Phichit province. The research tools used were learning management plans, a reflective learning management form, a conceptual measurement form on the phenomenon of the world and natural disasters and a climate change awareness assessment form. The research was conducted using a three-cycle of action research processes. The data were analyzed through content analysis, and verified for trustworthiness using the triangulation method.

The results of this research indicated  that 1) the approach to promoting students' concepts and climate change awareness through phenomenon-based learning management involved 5 steps: (1) selecting interesting climate-related phenomena and integrating them with knowledge from various subject into science lesson, (2) developing pre-descriptions based on students' pre-concepts of natural phenomena and climate-related events, (3) conducting experiments and research to verify the pre-descriptions of climate phenomena, (4) collecting and analyzing data from experiments to refine the final description of climate phenomena, and (5) presenting the final descriptions of climate phenomena and providing reasoning for answering questions related to climate phenomena, reflecting the students' accumulated thoughts about climate change. 2) The results of promoting the concept on phenomenon of the world and natural disasters revealed that after the learning activities, students had developed the concept on the phenomenon of the world and natural disasters, with the concept of natural disasters having the highest percentage of complete understanding (CU) being 20%. In addition, the results showed that the average score of students' climate change awareness after the learning activities using phenomena as a basis was higher than before, from an intermediate level to a ‘good’ level.

Download in PDF (876.23 KB)

How to cite!

พุธิตา สุภาอินทร์, & สุรีย์พร สว่างเมฆ. (2567). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่ง. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(2), 113-130

References

เกตน์สิรี สุวรัตน์. (2564). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบปรากฏการณ์เป็นฐาน เรื่อง ระบบหายใจ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

งามจิตต์ สุขสมบูรณ์วงศ์. (2562). การส่งเสริมมโนทัศน์ เรื่อง ปรากฏการณ์โลก ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลอง 3 มิติเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชนัดา มะโนสร. (2562). การพัฒนาการรู้สภาพภูมิอากาศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับการใช้เกม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิสิต ชำนาญเพชร. (2562). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้เคลย์แอนิเมชั่นร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่ส่งเสริมการพัฒนามโนทัศน์ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(4), 183-197

รุ่งทิวา บุญมาโตน, วนินทร สุภาพ, และรัชฎา วิริยะพงศ์. (2561) การพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(2), 51-61.

สิรินนภา กิจเกื้อกูล. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทิศทางสำหรับครูศตวรรษที่ 21. เพชรบูรณ์:โรงพิมพ์จุลดิสการพิมพ์

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2558). แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 – 2593. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นจากhttp://www.onep.go.th/

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2560). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างแบบองค์รวม และการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. วารสารครุศาสาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(2), 348-365.

Breckler, R. L. (1986). The Social Work Dictation (3rd. ed.).  WasHiton DC.: Nasw Press.

Deng, Y., Wang, M., & Yousefpour, R. (2017). How do people's perceptions and climatic disaster experiences influence their daily behaviors regarding adaptation to climate change?—A case study among young generations. Science of the total environment, 581, 840-847.

Islakhiyah, K., Sutopo, S., & Yulianti, L. (2018). Scientific Explanation of Light through Phenomenon-based Learning on Junior High School Student. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, 218,  173–185.

Kijkuakul, S. (2015). Science Learning Management: Direction for 21s Century Teachers. Phetchabun: Chuladit Printing House.

Kwauk, C., & Winthrop, R. (2021). Unleashing the creativity of teachers and students to combat climate change: An opportunity for global leadership. Retrieved from https://www.brookings.edu/research /unleashing-the-creativity-of-teachers-and-students-to-combat-climate-change-an-opportunity-for global-leadership/

Lee, S., & Kim, H. B. (2014). Exploring secondary students’ epistemological features depending on the evaluation levels of the group model on blood circulation. Sci & Educ, 23, 1075-1099.

Marzetta, K. L. (2016). Changing the climate of beliefs: A conceptual model of learning design elements to promote climate change literacy. Journal of Sustainability Education, 16, 1-18.

Mattila, P. & Silander, P. (Eds.) (2015). How to Create the School of the Future : Revolutionary thinking and design from Finland. Finland: Multprint. Retrieved August 20, 2022, from https://unfccc.int/resource/docs/convkp/conveng.pdf.

Niepold, F., Herring, D., & McConville, D. (2007). The case for climate literacy in the 21st Century. Fifth International Symposium on Digital Earth. Retrieved from https://earthtosky.org/content/climate/PDF_Resources/niepold%20et%20al%20case%20for%20climate%20literacy.pdf

Posner, G. J., Strike, K. A., Hewson, P. W., & Gertzog, W. A. (1982). Accommodation of a scientific conception: Toward a theory of conceptual change. Science Education, 66(2), 211-227.

Shealy, T., Godwin, A., & Gardner, H. (2017). Survey Development to Measure the Gap between Student Awareness, Literacy and Action to Address Human Caused Climate Change. Paper presented at the ASEE Annual Conference proceedings. Retrieved from doi 10.18260/1-2—28891

Showalter, K., López-Carr, D., & Ervin, D. (2019). Climate change and perceived vulnerability: Gender, heritage, and religion predict risk perception and knowledge of climate change in Hawaii. Geographical Bulletin, 60(1).

United Nations. (2015). United Nations Framework Convention on Climate Change. Retrieved from https://unfccc.int/resource/docs/convkp/conveng.

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in