วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ผลของการจัดกิจกรรมตามแนวสะเต็มศึกษาผนวกกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับภูมิปัญญาด้านอาหารของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์

STEM Activity Management and Scientific Methods for Food Wisdom of Ethnic Students


วันที่ส่งบทความ: 30 ม.ค. 2566

วันที่ตอบรับ: 8 มี.ค. 2566

วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2567


บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาผนวกกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหาร 2) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษาผนวกกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหาร และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาผนวกกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาด้านอาหาร ประชากรในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอแม่สะเรียง เครืองมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวแนวสะเต็มศึกษาผนวกกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหาร 4) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวแนวสะเต็มศึกษาผนวกกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหาร มีทั้งหมด 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมข้าวเบ๊อะพาเพลิน กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมข้าวคั่วหอมละมุน และกิจกรรมที่ 3 กิจกรรมซุปปลาเผา เป็นการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาผนวกกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ อยู่ในระดับดีมาก (µ.=.2.95, σ =.0.49) และ 3) ความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก (µ.=.4.42, σ =.0.54)

Abstract

This research article aimed to 1) design the learning activities based on the concept of STEM education combined with scientific methods in food knowledge local wisdom, 2) study the skills on STEM Education combined with scientific methods in food knowledge local wisdom and 3) study the satisfaction with the learning management of students who participated in the learning activities on STEM Education combined with scientific methods in food knowledge local wisdom. The sample group in this study consisted of ethnic students at a school in Mae Sariang District. The research tools were 1) semi-structured Interview 2) a science learning activity package 3) a learning management plan based on STEM Education combined with a scientific method in food knowledge local wisdom, 4) an integrated science process skill assessment form, and 5) a satisfaction questionnaire. The statistics for analyzing the data were 1) descriptive statistics: arithmetic mean and standard deviation.

The results of the research were as follows: 1) the learning activities designed based on STEM Education combined with scientific methods in food knowledge local wisdom, a total of 3 activities, namely, Activity 1: Khao Boe Pa Plean, Activity 2: Aromatic Roasted Rice, and Activity 3: Grilled Fish Soup, which were an integration of local wisdom with science learning through a learning management process based on STEM Education combined with scientific methods, 2) the integrated science process skills showed the overall value  (µ = 2.95, σ = 0.49) at the ‘very good’ level, and 3) the overall satisfaction was at the ‘good’ level (µ = 4.42, σ = 0.54).

Download in PDF (1.07 MB)

How to cite!

ดวงจันทร์ แก้วกงพาน, ฉัตรฑริกา ปองไพบูลย์ผล, จารีย์ โชคสร้างทรัพย์, ชิสาพัชร์ ชูทอง, นิภา จันทร์อ่อน, จิริสุดา ธรรมขันธ์, & รุ่งอรุณ คชไพร. (2567). ผลของการจัดกิจกรรมตามแนวสะเต็มศึกษาผนวกกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับภูมิปัญญาด้านอาหารของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(2), 58-77

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 334-348.

เชิดชัย อมรกิจบำรุง. (2548). การสร้างแบบประเมินทักษะการปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์สาหรับนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม เขตสาทรกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ดวงจันทร์ แก้วกงพาน, จิตติยา สมบูรณ์มากทรัพย์, สาธิตา สิริโรจนงาม,ชิสาพัชร์ ชูทอง, วีรนุช คฤหานนท์, สมศักดิ์ก๋าทอง, และศรีไพร กุณา. (2565). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้บริบทชุมชนเป็นฐาน สําหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ในอําเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่.  วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 12(2), 1-18.

ถาวร ฟูเฟื่อง. (2553). ชาวเขา: ตำนานชนเผ่าต่างวัฒนธรรม. เชียงใหม่: ม.ป.พ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปุญญิสา  สัมพันธ์. (2565). การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียงกับการได้ยิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ประหยัด สายวิเชียร. (2557). อาหาร วัฒนธรรมและสุขภาพ. เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: ประสานมิตร.

พชรวรรณ มีหนองหว้า, และขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาอิงบริบทท้องถิ่นโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน: มิติใหม่ของการเรียนรู้วิชาเคมี. วารสารศึกษาศาสตร์, 36(2), 77-89.

พรพรรณ ไวทยางกูร. (2557). เอกสารการบรรยายทิศทางของสะเต็มศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

พัฒนะ วิศวะ. (2559). ความหมายของวัฒนธรรม.  สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2565, จาก www.manageronline.com.

มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556). สะเต็มศึกษาประเทศไทยและทูตสะเต็ม. นิตยสาร สสวท. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 42(185), 14-16.

ยุทธนา ชัยเจริญ. (2651). ผลการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา เรื่อง การย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายด้วยสีธรรมชาติโดยใช้สารช่วยติดชนิดต่าง ๆ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

วิสาขะ เยือกเย็น. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ไฟฟ้าเคมี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ศรายุทธ จันทร์สว่าง. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศศิธร กาญจนสุวรรณ, ทิวัตถ์ มณีโชติ, และสมคิด พรมจุ้ย. (2566). ผลการบูรณาการองค์ความรูแบบสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(1), 90-104.

ศิริพร ศรีจันทะ, พีรภัฏ รุ่งสัทธรรม, และประดิษฐ์ วิชัย. (2562). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 6(1), 157-178.

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ. (2564). สะเต็มศึกษาและการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเพทฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรูแกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อโนดาษ์ รัชเวทย์, มัลลิกา ศุภิมาส, และยุทธนา ชัยเจริญ. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการการเรียนวิทยาศาสตร์ตามกรอบแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารบัณฑิตวิจัย, 10(1), 41-55.

อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2556). เทคโนโลยีและวิศวกรรมคืออะไรในสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).

อัญชลี สมฟองทอง. (2564).  กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21 เรื่อง “โคมล้านนา” เพื่อยกระดับสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Breiner, J. M., Johnson, C. C., Harkness, S. S., & Koethler, C. M. (2012). What is STEM? A discussion about conceptions of STEM in education and partnerships. Journal School Science and Mathematics, 112(1), 3-10.

Honey, M., & Kanter, D. E. (2013). Design, make, play: Growing the next generation of STEM innovators. New York: Routledge.

Stuart, L., &  Dahm, E. (1999).  21st Century Skills for 21st Century Fobs. New York: Federal Publications.

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in