วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาของนักศึกษาครูเคมี โดยใช้การปฏิบัติการทดลองทางเคมีในชีวิตประจำวัน

Development of STEM Education Learning Plan of Pre-service Chemistry Teacher Using Daily Life Chemistry Experiments


วันที่ส่งบทความ: 14 มี.ค. 2566

วันที่ตอบรับ: 27 เม.ย. 2566

วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2567


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาของนักศึกษาครูเคมีโดยใช้ปฏิบัติการทดลองทางเคมีในชีวิตประจำวัน 2) ศึกษาความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบสะเต็มศึกษาของนักศึกษาครูเคมี และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาครูเคมีที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาสะเต็มศึกษา เนื้อหาการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ประชากรคือนักศึกษาครูเคมี ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาสะเต็มศึกษา จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่   1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงที่ผู้วิจัยพัฒนา ในเนื้อหาการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสะเต็มศึกษา 2) แบบประเมินความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินทักษะที่เกี่ยวข้อง 3) แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบประเมินกระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลวิจัยโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาครูเคมี สามารถพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา โดยใช้ปฏิบัติการทดลองทางเคมีในชีวิตประจำวัน ได้จำนวน 8 แผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่พัฒนาโดยนักศึกษาอยู่ในระดับดี (m=4.42, s=0.39) 2) นักศึกษาครูเคมี สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาโดยมีกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบปฏิบัติการทดลองในชีวิตประจำวัน และสามารถจัดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติการสอนแบบจุลภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลการวิเคราะห์การประเมินความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในระดับดี (m=4.28, s=0.28) และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาครูเคมี ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ครบทุกกิจกรรมในรายวิชาสะเต็มศึกษาในเนื้อหา การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการประเมินความรู้ความเข้าใจของตนเอง ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของรายวิชา และด้านการนำไปประยุกต์ใช้ พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (m=4.68, s=0.02)

Abstract

This research aimed to 1) develop pre-service chemistry teachers’ lesson plans for STEM education by using daily life chemistry experiment learning activity, 2) study pre-service chemistry teachers’ ability in the learning activity design for stem education and 3) study satisfaction of pre-service chemistry teachers for classroom activities in STEM Education course, in the topic of “the learning activity design for STEM education”.  The participants of this study were eight second-year pre-service chemistry teachers enrolled in STEM Education course. Research tools included 1) the lesson plans indicating the learning activities designed for STEM education course 2) the form for measurement of knowledge, understanding and expected skills 3) the form for evaluation of quality of lesson plans developed by the participating pre-service teachers 4) the form for evaluation of the learning process and 5) the satisfaction questionnaire. The data collected were analyzed by using average and standard deviation.

It was found that 1) Eight lesson plans and STEM learning activities based on daily life chemistry experiments developed by participating pre-service chemistry teachers were at the ‘good’ level for quality (m=4.42, s=0.39).  2) Pre-service chemistry teachers could design learning activities based on the daily life chemistry experiments and effective leaning management was observed in microteaching activity. The ability of learning design in the concept of STEM education of the target group was also shown in the ‘good’ level (m=4.28, s=0.28). 3) Satisfaction, in the topic of “Designing the STEM education learning activities” of STEM education course for the pre-service chemistry teachers in three aspects--knowledge and understanding, course learning activity management and application of the lessons was shown at the ‘highest’ level (m=4.68, s=0.22).

Download in PDF (963.75 KB)

How to cite!

วีรนุช คฤหานนท์, ดวงจันทร์ แก้วกงพาน, สมศักดิ์ ก๋าทอง, พูนฉวี สมบัติศิริ, & นิภา จันทร์อ่อน. (2567). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาของนักศึกษาครูเคมี โดยใช้การปฏิบัติการทดลองทางเคมีในชีวิตประจำวัน. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(2), 33-57

References

ไชยวัฒน์ ชุ่มนาเสียว. (2562). การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ สู่นวัตกรรมการสอนของครู. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(2), 28-41.

ฐิตินันท์ ดาวศรี, พรนภา ทิพย์กองลาด, พีรพล เข็มผง, สมเชาว์ ดับโศรก, สุทธิดา เพ่งพิศ, วรวัฒน์ วิศรุตไพศาล, และ จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2564) แนวทางการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 11(1), 59-74.

ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์. (2563). การบูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมของครูยุค 4.0. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(ฉบับเพิ่มเติม), 251-268.

ดุษฎีพร หิรัญ, และ สุรวุฒิ สุดหา. (2565). การพัฒนากิจกรรมการทดสอบความเป็นกรด-เบส ของสารเคมีในชีวิตประจำวันโดยใช้อินดิเคเตอร์จากสารสกัดจากวัสดุในท้องถิ่น. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 13(2), 165-176.

นูรอาชีกีน สาและ, ณัฐินี โมพันธุ์, และ มัฮดี แวดราแมคู. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาชราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 42-53.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2560). ทักษะการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(4), 109-116.

ปราโมทย์ พรหมขันธ์. (2556). การพัฒนาความสามารถของครูด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐาน. วารสารครุศาสตร์, 41(3), 98-114.

พิกุล คำภีระปาวงค์, และ เฉลิมพร ทองพูน. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคม (STS) เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว, 32(2), 240-256.

เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2560). สมรรถนะด้านการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาครูที่เข้าร่วมการเป็นสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์, 45(4), 143-164.

วธัญญู พิชญภูสิทธิ, และ เอื้อมพร หลินเจริญ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาเคมี เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบะนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 15(3), 89-104.

วสันต์ สุทธาวาศ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). วิธีพัฒนาศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 748-767.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของครูนวัตกรด้านเทคโนโลยีการศึกษาในสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน เครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 50-62.

ศุภลักษณ์ แป้นเพชร, ปัณณวิชญ์ ใบกุหลาบ, และ พัชราวลัย มีทรัพย์. (2558). การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39, 41 และ 41. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 9(1), 90-108.

สมสกุล เทพประทุน, และ ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2561). แนวทางการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนในสถานศึกษานำร่อง ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในอำเภอบ้านโป่ง. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 124-138.

สิริยาพร พลเล็ก, อรุณรัตน์ คำแหงพล, และ กุลวดี สุวรรณไตรย์. (2564). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(1), 210-224

สุวรรณา จุ้ยทอง. (2565). ผลการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะที่มีต่อความสามารถในการสอนของนักศึกษาครู. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 12(1), 15-29.

สุวัจนา ศรีวิเนตร. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบนำตนเอง เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(2), 41-52.

อภิญญา สิงโต. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(7), 387-398.

อภิณห์พร สถิตย์ภาคีกุล. (2561). การออกแบบการเรียนการสอน: ทักษะเพื่อความสำเร็จของครู. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10 (ฉบับพิเศษ), 107-115.

เอมิกา สุวรรณหิตาทร, และ ศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). การพัฒนาแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของครู ระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 11(4), 574-586.

Adams, W.K., Wieman, C.E., Perkins, K.K., & Barbera, J. (2008). Modifying and validating the Colorado learning attitudes about science survey for use in chemistry. Journal of Chemical Education, 85(10), 1435-1439. doi.org/10.1021/ed085p1435

Butzler, K.B. (2015). ConfChem conference on flipped classroom: flipping at an open-enrollment college. Journal of Chemical Education, 92(9), 1574-1576. doi.org/10.1021/ed500875n

Lima, M.A.S., Monteiro, Á.C., Leite J., A.J.M., Matos, I.S.A., Alexandre, F.S.O., Nobre, D.J., …Silva J., J.N. (2019). Game-based application for helping students review chemical nomenclature in a fun  way. Journal of Chemical Education, 96(4), 801-805. doi.org/10.1021/acs.jchemed.8b00540

Stuckey, M., & Eilks, I. (2014) Increasing student motivation and the perception of chemistry’s relevance in the classroom by learning about tattooing from a chemical and societal view. Chemistry Education Research and Practice Journal, 15(2), 156-167.

Wang, Y., Rocabdo, G.A., Lewis, J.E., & Lewis, S.E. (2021). Prompts ro promote success: evaluating utility value and growth mindset interventions on general chemistry student’s attitude and academic performance. Journal of Chemical Education, 98, 1476-1488. doi.org/10.1021/acs.jchemed.0c01497

Warfa, A.M, Roehrig, G.H., Schneider, J.L., & Nyachwaya, J. (2014). Role of teacher-Initiated discourses in students’ development of representational fluency in chemistry: a case study. Journal of Chemical Education, 91(6), 784-792. doi.org/10.1021/ed4005547

Xu, X., & Lewis, J.E. (2011). Refinement of a chemistry attitude measurement for college students. Journal of Chemical Education, 88, 561-568. doi.org/10.1021/ed900071q

 

 

 

 

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in