วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การศึกษากระบวนการพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการใช้ความรุนแรงของเด็กวัยรุ่น
 

A Study of Development Process of Life Skills on Violence Prevention for Adolescents
 


วันที่ส่งบทความ: 9 ก.ค. 2565

วันที่ตอบรับ: 22 ก.ค. 2565

วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2567


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุการถูกกระทำความรุนแรงของเด็กวัยรุ่น 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการใช้ความรุนแรงของเด็กวัยรุ่น กลุ่มเป้าหมาย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย นักจิตวิทยา  นักวิชาการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา นักวิชาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นักวิชาการผู้มีประสบการณ์การทำงานด้านการจัดการความรุนแรงของเด็กวัยรุ่น ผู้ปกครอง เด็กวัยรุ่น ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง โดยดำเนินการในพื้นที่ภาคกลาง ดำเนินการสัมภาษณ์ครั้งละประมาณ 60 นาที แล้วดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปว่า 1) สภาพปัญหาและสาเหตุการถูกกระทำความรุนแรงของเด็กวัยรุ่น เกิดจากการขาดทักษะการแก้ปัญหา ขาดการรับรู้คุณค่าในตนเอง ขาดการรับรู้คุณค่าในตนเอง รวมถึง ขาดทักษะในการระบายความเครียดและจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกในด้านลบ 2) กระบวนการพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการใช้ความรุนแรงของเด็กวัยรุ่น ควรดำเนินการด้วยกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เสริมทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการใช้ความรุนแรง ซึ่งผู้วิจัยมีการพิจารณานำบริบทปัญหาและสาเหตุการถูกกระทำความรุนแรงเพื่อนำไปสู่การพัฒนากระบวนการพัฒนาทักษะชีวิตได้อย่างเหมาะสม โดยองค์ประกอบของทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการใช้ความรุนแรงที่ต้องดำเนินการพัฒนาประกอบด้วย ทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียด ทักษะการรับรู้คุณค่าของตนเอง ทักษะการแก้ปัญหา และ ทักษะการปฏิสัมพันธ์และการสร้างเครือข่ายสนับสนุน

Abstract

This research aimed to: 1) study the violence conditions and causes of victimization of violence among adolescents; and 2) study the development process of life skills on violence prevention for adolescents. The informants were psychologists, educational technologists and innovation specialists, learning activities specialists, academicians with experience in violence management of adolescents, parents and adolescents who were selected by purposive sampling. The instrument used was a semi-structured interview about violence conditions and development process of life skills on violence prevention for adolescents. This process was conducted in the central region and the duration of each interview was approximately 60 minutes. Data were analyzed by content analysis. The research results indicated that: 1) the conditions and risk factors of violence victims were namely:  lack of problem-solving skill, lack of self-esteem and lack of self-appreciation as well as lack of skill in stress management and management of negative emotions  2) the development process of life skills on violence prevention for adolescents should be operated by group dynamic activities to enhance life skill on violence prevention for adolescents. In addition, the researcher has considered using the information from the contextual conditions of the problem and the causes of violence victims to design the suitable process of life skills development that included four components as follows: emotional and stress management skill, self-esteem recognition skill, problem-solving skill and appropriate relationship building as well as social support building skill.

Download in PDF (880.27 KB)

How to cite!

นววิช นวชีวินมัย (2567). การศึกษากระบวนการพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการใช้ความรุนแรงของเด็กวัยรุ่น
 . วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(1), 172-190

References

เบญจพร ตันตสูติ. (2562). เมื่อลูกถูกแกล้ง. กรุงเทพฯ: พราว โพเอท.

พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์, วิไลลักษณ์ ลังกา, กัมปนาท บริบูรณ์, และ ครรชิต แสนอุบล. (2561). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการข่มเหงรังแกในโรงเรียน. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 3653-3667.

ศรัญญา อิชิดะ, คมเพชร ฉัตรศุภกุล, และ สกล วรเจริญศรี. (2556). การศึกษาพฤติกรรมความรุนแรงของนักเรียนวัยรุ่น วารสารวิจัยทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ,7(2), 211-221.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย วัยรุ่น-วัยสูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2556). แนวทางการดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมความรุนแรง. กรุงเทพฯ: ดีน่าดู มีเดียพลัส.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2553). วัยรุ่นกับความรุนแรง. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

---------. (2563). แบบนี้ไม่อยากได้ เด็กไทยถูกบูลลี่ อันดับ 2 โลก. สืบค้น 16 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/51089-a.html

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brande, W.V.D., Baillien, E.,  Elst, T.V., De Witte, H.,  Van den Broeck, A., & Godderis, L.(2017). Exposure to Workplace Bullying: The Role of Coping Strategies in Dealing with Work Stressors. BioMed Research International, 2017, Rtrieved May 29, 2022 from https://doi.org/10.1155/2017/1019529

Cherry, K. (2020). Erik Erikson’s Stages of Psychosocial Development. Retrieved August 31, 2020, from https://www.verywellmind.com/erik-eriksons-stages-of-psychosocial-development-2795740

Flanagan, K.S., Vanden Hoek, K.K., Shelton, A., &  Kelly,S.L. (2013). Coping with bullying: What answers does children’s literature provide?. School Psychology International, 34(6), 691-706. Retrieved March 31, 2022, from https://www.researchgate.net/publication/259738381_Coping_with_bullying_What_answers_does_children's_literature_provide

Folayan M.O., Oginni, O., Arowolo, O., & Tantawi, M.E.  (2020). Internal consistency and correlation of the adverse childhood experiences, bully victimization, self-esteem, resilience, and social support scales in Nigerian children. BMC Res Notes, 13,(331). Retrieved May 30, 2022, from http://doi.org/10.1186/s13104-020-05174-3

Gordon, S. (2022). What You Need to Know About Victims of Bullying. Retrieved March 31, 2022, from https://www.verywellfamily.com/characteristics-of-a-typical-victim-of-bullying-3288501

Morin, A. (2019). 11-Year-Old Child Development Milestones. Retrieved August 31, 2020, from https://www.verywellfamily.com/11-year-old-developmental-milestones-4171925

Potard, C., Combes, C., Kubiszewski, V.,  Pochon, R., Henry, A., &  Roy, A. (2021). Adolescent School

Bullying and Life Skill: A Systematic Review of The Recent Literature.  Violence and Victims,  36(4), 604-637. Retrieved May  31, 2022, from https://www.researchgate.net/publication/349898834_Adolescent_School_Bullying_and_Life_Skills_A_Systematic_Review_of_Recent_Literature

Sapouna, M., &  Wolke, D. (2013) Resilience to bullying victimization: The role of individual, family and peer characteristics. Child Abuse & Neglect, 37, 997-1006

Silva, J.L.D., Oliveira, W.A, Carlos, D.M., Lizzi, E.A.D.S., Rosário, R., & Silva, M.A.I.(2018).  Intervention in social skills and bullying. Rev Bras Enferm, 71(3), 1085-1091. doi: 10.1590/0034-7167-2017-0151.

Suparp, J., Boonyathan,W., Kittipichai, W., Chamroonsawasdi, K. (2010). Life Skills Development Program to Reduce Bullying and to Promote Good Practice smong Promary School Students, Samut-Sakorn Province, Thailand. Journal of Public Health, 40(1), 7-15.

World Health Organization. (2010). Violence Prevention: The Evidence. Malta: World Health Organization.

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in