วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพครูโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
 

Developing Professional Ethics by Using the Community Process of Professional Learning Through Information Technology for Students of Bachelor of Education Program Chinese Language, Chiang Mai Rajabhat University
 


วันที่ส่งบทความ: 28 ก.พ. 2565

วันที่ตอบรับ: 14 มี.ค. 2565

วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2567


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของนักศึกษาในสาขาวิชาภาษาจีน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2) ศึกษากระบวนการพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพครูของนักศึกษา ฝึกประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพครูของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการ PLC ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 5 จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกสภาพบริบทของนักศึกษา แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ PLC แบบประเมินจรรยาบรรณ แบบสังเคราะห์ชั้นงาน และแบบบันทึกการติดตามผล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนรัฐบาลขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยทำหน้าที่สอนในชั้นมัธยมศึกษามากที่สุด นักศึกษามีความต้องการพัฒนาตนเองในด้านวิชาชีพครู การจัดการเรียนการสอน และต้องการใช้กระบวนการ PLC ในการแก้ปัญหาการอ่านออกเสียง การอ่านไม่ได้ของนักเรียนมากที่สุด

ในการพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพครูของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาจีนใช้รูปแบบการพัฒนาที่เน้นการสร้างความตระหนักและการใส่ใจ เรียกว่า “A in One Model” ซึ่งประกอบด้วย (1) Awareness and Attention (2) Operation (3) Network (4) Effectiveness ในกระบวนการ PLC ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ            

ผลการพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพครูพบว่านักศึกษาได้รับการพัฒนามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ E-PLC อยู่ในเกณฑ์ที่ดี (ร้อยละ 77.06) และผลการประเมินจรรยาบรรณวิชาชีพครูของนักศึกษาจากครูพี่เลี้ยงโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( × = 4.68) โดยมีจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพมากที่สุด ( × = 4.75) รองลงมาคือต่อวิชาชีพ และต่อผู้รับบริการในระดับที่เท่ากับ ( × = 4.73) และมีจรรยาบรรณต่อตนเอง ( × = 4.57) ตามลำดับ

 

Abstract

The objectives of this research were 1) to study the context of the students in the Chinese language program, Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University, 2) to study the process of developing students’ professional ethics through the information technology system, and 3) to study the results of the development of professional ethics of the students through practicing professional learning community by using the information technology system. It is action research. The sample group consisted of 45 students in the fifth year of Chinese language majors. The research instruments were as follows: Student Context Record Form, PLC Comprehension Test, Code of Conduct Ethics Test, Synthetic Form and Follow-up progress Records. The statistics used to analyze the data included: Frequency Distribution, Percentage, Mean, Standard Deviation and content analysis. The results of this research were as follows.

1. Most of the students were female. Most of them practice teaching professional experience in medium and large government schools by teaching in a secondary school as much as possible Students expressed needs to develop themselves in the teaching profession. teaching and learning management and use the PLC process to solve reading aloud problems and inability to read of most students.

2. In the development of teacher ethics of students practicing professional experience, it was found that teachers in the Chinese language major used a development model that focuses on raising awareness and attention, called "A in One Model", which consisted of (1) Awareness and Attention (2) Operation (3) Network (4) Effectiveness in the process of the professional learning community through an information technology system.

3. The results of the development of the teaching professional ethics revealed that most students who were developed had a good understanding of the E-PLC process (77.06 percent) and the teacher's professional ethics rated by their school mentors were found to be at the highest level (× = 4.68). The mean score showed their highest professional ethics towards fellow professional practitioners ( × = 4.75), followed by ethics towards professionalism and to the service recipients at the same level ( ×  = 4.73) and the third, self-ethics (×  = 4.57)

Download in PDF (766.19 KB)

How to cite!

ทัศนีย์ บุญแรง (2567). การพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพครูโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
 . วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(1), 129-142

References

ค้ำคูณ โรจนาวรรณ. (2562). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงตัวอักษรจีนโดยใช้สื่อการเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน “อ่านอักษรจีน พินอินไม่ต้อง” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.2 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย จำนวน 40 คน (รายงานผลการวิจัย). เชียงราย: ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.   

ปนัดดา วัฒโน. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.   

มัณทนา ชินนาพันธ์. (2562). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษร (พินอิน) โดยใช้สื่อมัลติมีเดียสำหรับนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201 อำเภอกาญจรดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (รายงาน ผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.   

วีรพล แสงปัญญา. (2562). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  

ศิตา เยี่ยมขันติถาวร. (2562). ทำความเข้าใจกับแนวคิดพื้นฐานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 13(1), 158-165.  

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2564).  คู่มือการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปี 2564. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.   

สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). ประกาศนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2564-2565. สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.kruachieve.com/เรื่องราวน่าสนใจ/นโยบายสํานักงานคณะกรรม/. 

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2554). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in