วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การประยุกต์ใช้สัญศาสตร์บนฐานของคอนสตรัคติวิสเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การทำงานของเซลล์ ของนักเรียนชาติพันธุ์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
 

Applying constructivist semiotics to develop scientific communication skills about the cell functions of an ethnic student group in Grade 10

 


วันที่ส่งบทความ: 19 ต.ค. 2565

วันที่ตอบรับ: 14 ธ.ค. 2565

วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2567


บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สัญศาสตร์บนฐานของคอนสตรัคติวิสซึม เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในเรื่องการทำงานของเซลล์ และ 2) ศึกษาทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน จำนวน 25 คน เมื่อจัดการเรียนรู้  ณ โรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ผู้วิจัยดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนคิด แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบวัดทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านเครื่องมือวิจัยและด้านแหล่งข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สัญศาสตร์บนฐานคอนสตรัคติวิสซึม ควรประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ขั้นเตรียมสมอง 2. ขั้นสร้างความรู้พื้นฐาน 3. ขั้นทำปฏิบัติการกลุ่ม 4. ขั้นสร้างผลงาน และ 5. ขั้นนำเสนอความรู้ นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ได้ทั้งนี้นักเรียนสามารถอ่านจับความจากบทความทางวิทยาศาสตร์แล้วค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อมาสร้างภาพ โมเดล แผนผัง นิทานหรือตัวแทนภาพอื่นๆ ได้ อีกทั้งยังสามารถเขียนรายงานบทปฏิบัติการจากการทดลองด้วยตนเอง โดยอ้างอิงจากข้อมูลหลักฐานที่ได้จากการฟังและสังเกต อีกทั้งสามารถจดบันทึกประเด็นต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และนักเรียนสามารถนำข้อมูลต่างๆ มานำเสนอ โดยใช้ภาษาและคำศัพท์เฉพาะทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Abstract

This research aimed to 1) develop a constructivistsemiotic approach for teaching cell functions and promoting Grade 10 students ‘scientific communication skills; and 2) study the level of enhancement of scientific communication skills the 25 students had achieved when implementing the approach in the Opportunity Expansion School in Chiang Rai Province.  The researcher carried out a 4-spiral process of action research. The research tools included lesson plans, reflective journals, observation checklists, and a test of scientific communication skills. The data were analyzed with content analysis and reliability of the instruments by method and resource triangulations. The results showed that the constructivist-semiotic approach needed five steps of teaching: 1) brain preparation; 2) basic knowledge construction; 3) group work operation; 4) created production; and 5) knowledge presentation. In addition, the results revealed that the students had developed their scientific communication skills as follows: The students gained an understanding by reading scientific articles, searching for additional information from a variety of learning sources, and then creating an image, a model, a diagram, a table, etc. as a knowledge representation. Also, they originally reported a science experiment by themselves, and cited evidence obtained from their preliminary study through listening and observation.  Moreover, the students correctly took notes and presented the information by using appropriate language and scientific terminologies effectively.

Download in PDF (1.04 MB)

How to cite!

นรมน โปธา, & สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2567). การประยุกต์ใช้สัญศาสตร์บนฐานของคอนสตรัคติวิสเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การทำงานของเซลล์ ของนักเรียนชาติพันธุ์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
 . วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(1), 65-78

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จุมพล เหมะคีรินทร์. (2557). ก่อนจะมาเป็นหนังสือ ความเชื่อกับวิทยาศาสตร์. สืบค้นจาก http://nstdachannel.tv/20140403-cc305-am-01/

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2557). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

เสาวลักษณ์ รัตนวิชซ์. (2531). เอกสารคำสอนหลักสูตรการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร.

อนุชา โสมาบุตร. (2561). ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory). สืบค้น 13 เมษายน 2563, จาก http://www.finding.co.th/it-solutions/human-resources-hr/14-it-solutions/human-resources-hr/85-constructivist-theory.html

Jensen, E. (2008). Brain-based learning : the new paradigm of teaching (2nd ed.). California: Corwin Press.

O’Shaughnessy, M., Stadler, J. & Casey, S. (2017). Media and society (6th. ed.). Melbourne, Australia:  Oxford University Press

Sharo, A., Maran, T., & Tonnessen, M. (2015). Towards Synthesis of Biology and Semiotics. Biosemiotics 8(1), 1-7. Retrieved from https://link.springer.com/content/pdf/10.1007/s12304-015-9239-y.pdf

Spektor-Levy, O., Eylon, B.S., & Scherz, Z. (2009). Teaching scientific communication skills in science studies: Does it make a difference?. International Journal of Science and Mathematics Education, 7(5), 875-903. doi:10.1007/s10763-009-9150-6

Scherz, Z., & Spektor-Levy, O. (2008). Learning Skills for Post-16 Sciences Introduction. London: Jo Oladejo (Nuffield Curriculum Centre).

 

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in