การพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนสำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในกองกำกับ 33 จังหวัดเชียงใหม่
The Development of a Package of Guidance Activities towards Quality of Student Life Enhancement for Teachers of Border Patrol Police Schools under Sub Division 33, Chiang Mai Province
วันที่ส่งบทความ: 29 เม.ย. 2565
วันที่ตอบรับ: 30 มิ.ย. 2565
วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนสำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในกองกำกับ 33 จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนสำหรับครู โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในกองกำกับ 33 จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบวิเคราะห์แนวทางการสร้างชุดกิจกรรม แบบประเมินความเหมาะสมชุดกิจกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนสำหรับครู โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในกองกำกับ 33 จังหวัดเชียงใหม่ และแบบสอบถาม (pretest-posttest) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนสำหรับครู โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ได้รับการประเมินความเหมาะสมอยู่ในเกณฑ์ระดับดี ( = 4.26, SD = 0.55) ประกอบด้วย 1) กิจกรรมปฐมนิเทศ 2) กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการศึกษา จำนวน 2 ครั้ง 3) กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านอาชีพ จำนวน 2 ครั้ง 4) กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านส่วนตัวและสังคม จำนวน 2 ครั้ง และ 5) กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ 2. ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนสำหรับครู โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในกองกำกับ 33 จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าหลังการใช้ชุดกิจกรรมนักเรียนในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองและมีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตในภาพรวมแตกต่างกันกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยนักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม
Abstract
This research aimed to 1) develop a package of guidance activities towards quality of student life enhancement for teachers of the Border Patrol Police Schools under Sub Division 33, Chiang Mai province, and 2) to examine results following the implementation of the said guidance activity package. The sample, obtained by multi-stage sampling, was 40 Grade 4-6 students (divided into control and experimental groups of 20 each) from Border Patrol Police Schools. The research tools included the interview form, the form for analyzing activity package development direction and for assessing activity package suitability, the behavioral observation form, a package of guidance activities towards quality of student life enhancement for teachers of the Border Patrol Police Schools under Sub Division 33, Chiang Mai province, and pre- and posttest questionnaires. The statistics for data analysis comprised mean, standard deviation, and t-test. The research findings were as follows: 1) The guidance activity package indicated a high level of suitability ( = 4.26, SD = 0.55). It consisted of 1) orientation activities; 2) quality of life development activities in terms of education (twice), 3) quality of life development activities in terms of occupations (twice), 4) quality of life development activities in terms of individual and social aspects (twice), and 5) commencement activities. 2) With respect to results following the implementation of the aforesaid guidance activity package, the posttest mean score of quality of life among students in the experimental group was higher than the pretest one. Similarly, in comparison to the control group, there was a difference in the mean score of overall quality of life with a statistical significance level of .01. Those in the experimental group had a higher mean score of quality of life than their counterparts in the control group.
Keywords
ชุดกิจกรรมแนะแนว ; การส่งเสริมคุณภาพชีวิต ; นักเรียน ; ครู ; โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนกองกำกับ 33; A package of guidance activities; Quality of life enhancement; Students; Teachers; Patrol Police schools under Sub Division 33
How to cite!
สุธิดา พลชำนิ, เกศนีย์ อิ่นอ้าย, สุธาสินี ยันตรวัฒนา, & มนตา รัตนจันทร์. (2567). การพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนสำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในกองกำกับ 33 จังหวัดเชียงใหม่
.
วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(1), 27-47
References
กองกำกับตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33. (2562). ข้อมูลโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ประจำปีการศึกษา 2562.เชียงใหม่: กองกำกับตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 ค่ายสมเด็จพระบรมราชชนนี.
คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน. (2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: เจ เอส การพิมพ์.
จิรัฐติกุล ดอนวิจารณ์ขจร, สมปอง กัลยา, และสุรกานต์ จังหาร. (2562). การพัฒนากิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(2), 92-108.
ชื่นตา นุชกระโทก. (2563). การเสริมสร้างการคิดเชิงบริหารจัดการสำหรับนักเรียนประถมศึกษาโดยชุดกิจกรรมแนะแนว(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประณิตา ทองพันธ์, สุขอรุณ วงษ์ทิม, และวัลภา สบายยิ่ง. (2562). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตลอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(1), 79-94.
ปิยวัฒน์ ตรีวิทยา. (2559). กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่, 49(2), 171-184.
พงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์, ฤาเดช เกิดวิชัย และณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฏฐ์. (2563). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนจังหวัดแพร่. วารสารสันติศึกษาปริทัศน์ มจร, 8(4), 1492-1505.
ภานุวัฒน์ รังสรรค์. (2562). รายงานผลการดำเนินงานโครงการค่ายวิชาการกลุ่มสาระและส่งเสริมการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. ลำปาง: งานโครงการพระราชดำริ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
มนตรี อินตา, สุพัตรา สกุลศรีประเสริฐ, และมนทกานต์ เมฆรา. (2561). การแนะแนวกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของวัยรุ่น. วารสารเวอริเดียนอีเจอนัล มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมและศิลปะ,11(2), 2513-2530.
เรียม ศรีทอง. (2561). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกิจกรรมแนะแนว เอกสารการสอนชุดวิชากิจกรรมและเครื่องมือแนะแนวหน่วยที่ 1-8 (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ลัดดาวรรณ ณ ระนอง. (2562). การแนะแนวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เอกสารการสอนชุดวิชาการแนะแนวกับคุณภาพชีวิต หน่วยที่ 1-7 (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ลัลลลิต กันธิยะ. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามเทคนิคตัวแบบสื่อสังคมเพื่อพัฒนาการรับรู้ความสามารถด้านการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วัชรินทร์ ยศรุ่งโรจน์, และ ณรงค์ศักดิ์ จันทร์นวล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33. พิฆเนศวร์สาร, 13(1), 97-115.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, และสมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย. (2559 ก). การจัดการเรียนรู้
กิจกรรมแนะแนว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, และสมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย. (2559 ข). หลักการบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเบื้องต้นสำหรับครูและผู้บริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560). Thailand 4.0 ขับเคลื่อนอนาคตสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน. วารสารไทยคู่ฟ้า สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 33(1), 2-11.
สุธิดา พลชำนิ, และเกศนีย์ พิมพ์พก. (2560). การพัฒนาโปรแกรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อสำหรับนักเรียนชนเผ่า โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 “มหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้สังคม พลังขับเคลื่อนประเทศไทยยุค 4.0” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมากับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ. 6-7 กรกฎาคม 2560. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
อัปสรสิริ เอี่ยมประชา, และ สุดารัตน์ เปรมชื่น. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 6(1), 159-170.
Bandura, A. (1977). Social Learning Theory. New Jersey: Prentice Hall.
Bloom, B. S. (1956). Taxanomy of Educational Objectives, Handbook II: Affective Domain. New York: McKay
Erikson, E. H. (1968). Identity Youth & Crisis. New York: W. W. Norton & Company.
Gil-Lacruz, M., Gil-Lacruz, A.I., & Gracia-Perez, M.L. (2020). Health-related quality of life in young people: the importance of education. Health Qual Life Outcomes, 18, 187. doi.org/10.1186/s12955-020-01446-5
Havighurst, R.J. (1971). Developmental tasks and education (7 th ed.). New York: Long Man.
Mc Clelland, D.C. (1953). The Achievement Motive. New York: Appleton Century Crofts.
Maslow, A.H. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper & Row.
Indexed in