วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้สุขศึกษาของนักศึกษาในบริบทสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
 

The Study of Necessity Needs in the Learning Management of Sex Education in order to Achieve the Goal of Learning Health Education of Students in Context of the Three Southern Border Provinces
 


วันที่ส่งบทความ: 26 ก.ค. 2565

วันที่ตอบรับ: 26 ต.ค. 2565

วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2567


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการแนวทางของการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้สุขศึกษาของนักศึกษาในบริบทสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำเนินการโดย (1) ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นสภาพและบริบททั่วไปเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกข้อมูล และทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (2) สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญแบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จากนั้นนำข้อมูลทั้ง 2 ส่วนมาสังเคราะห์ร่วมกัน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาในพื้นที่ จำนวน 9 คน โดยการคัดเลือกแบบก้อนหิมะ ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพบริบททั่วไปมีการสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่เกี่ยวกับความเชื่อตามหลักศาสนา ค่านิยม ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร วิถีชีวิตความเป็นอยู่ และมีการจัดการศึกษาที่เน้นในหลักศาสนาเป็นสำคัญ ส่งผลทำให้การจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันยังขาดการเชื่อมโยงด้านความรู้ ทัศนคติ และทักษะต่าง ๆ ตลอดจนการนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตในสภาวะที่กำลังประสบกับปัญหาสุขศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศศึกษาในพื้นที่ 2. ความต้องการแนวทางในการจัดการเรียนรู้ ให้เน้นที่องค์ประกอบหลักของการเรียนรู้ เพราะเป็นสิ่งที่นำไปสู่ผลลัพธ์ตามที่มุ่งหวังในมิติของ จุดประสงค์ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ แหล่งการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล โดยต้องเน้นให้ผู้ได้เรียนได้รู้จากการลงมือปฏิบัติที่เป็นการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทั้งในและนอกห้องเรียน โดยต้องคำนึงถึงความแตกต่างของบริบทในพื้นที่ เพื่อความเหมาะสมในการเชื่อมโยงในการนำองค์ความรู้ไปบูรณาการประยุกต์ปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม

 

Abstract

The purpose of this research was to study the current state and the need for guidelines of sex education learning management to achieve the goal of learning health education among students in the context of the three southern border provinces. The research process consisted of (1) studying related documents and research on the issues and general contexts related to learning management. Instruments for the study included a tool used as a recorder of data followed by content analysis, (2) semi-structured expert interviews which were content analyzed. Then the two parts of the data were synthesized together by the sample group of 9 experts involved in the management of sex education in the area selected with snowballing technique. The findings revealed that 1) The general context reflected the uniqueness in the area of ​​religious beliefs, values, language used in communication, way of life and management of education that focuses mainly on religious principles resulting in the current learning management lacking the connection of knowledge, attitudes and skills as well as learning management direction as a focus of real-life learning in a situation that is experiencing problems health education related to sex education in the area. 2) The need for guidelines for learning management that focus on the core elements of learning because it leads to the desired outcome in the dimension of purpose, content, learning activities, media, learning resources and assessment and evaluation. The emphasis should be for the learners to learn from their practical experience of proactive learning management both inside and outside the classroom by taking into account the contextual differences in the area for the appropriateness of linking in the application of knowledge to integrate and apply appropriately.

 

Download in PDF (694.99 KB)

How to cite!

พิชามญช์ จันทุรส, & สาริศา โตะหะ. (2567). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้สุขศึกษาของนักศึกษาในบริบทสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
 . วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(1), 15-26

References

กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน.(2565). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2566-2570.

สืบค้นจาก https://www.osmsouth-border.go.th/news_develop

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิฆัมพร สมพงษ์, วุฒิชัย เนียมเทศ, เอกรินทร์ สังข์ทอง, และ เรชา ชูสุวรรณ. (2559). การบริหารสถานศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารหาดใหญ่วิชาการ,14 (1), 99.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2558). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐในการแก้ไขปัญหาเยาวชนไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนใต้ (รางานผลการวิจัย). สงขลา: สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุญสิทธิ์ ไชยชนะ, เสกสรรค์ ทองคำ, เกสรี ลัดเลีย, ยะสี ลาเต๊ะ, อุษณิษา ภาคยานุวัติ, เรณู บุบผะเรณู,…และนูรา กือจิ. (2559).รูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจหรือพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้(รายงานการวิจัย). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

พิชามญช์ จันทุรส, สิงหา จันทน์ขาว และอนันต์ มาลารัตน์. (2021). การพัฒนารายวิชาชีวิตและครอบครัวแบบบูรณาการสำหรับนักศึกษาโดยอิงบริบทเชิงวัฒนธรรมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา,16 (1), 110-119.

สิทธิชัย ทองมาก, วุฒิชัย เนียมเทศ, เรชา ชูสุวรรณ, และฤทัยชนนี สิทธิชัย. (2561). เหลียวหลังแลหน้าคุณภาพการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5 (ฉบับพิเศษ), 186-198.

อรจินดา บุรสมบูรณ์. (2561). รายงานพิเศษใต้ สังคมพหุวัฒนธรรม สังคมที่อยู่ร่วมกันได้บนพื้นฐานความแตกต่าง. สืบค้นจาก http://thainews.prd.go.th/website_th/news/print_news/TNRPT

เอมอัฌชา วัฒนาบุรานนท์. (2559). การวิจัยพัฒนาโมเดลเลิฟเพื่อสร้างเสริมความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ : ชุดโครงการวิจัยสำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in