วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนประถมศึกษา

Developing Strategy on Learning and Innovation Skills Development for Primary Students


วันที่ส่งบทความ: 27 พ.ย. 2564

วันที่ตอบรับ: 21 ธ.ค. 2564

วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2566


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่ควรจะเป็นของทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนประถมศึกษา 2) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนประถมศึกษา และ 3) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูวิชาการ จำนวน 390 คน การได้มาของกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ PNIModified

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนประถมศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่ควรจะเป็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) กลยุทธ์การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ 10 พันธกิจ 12 เป้าประสงค์ 9 กลยุทธ์ 12 เป้าหมาย 32 วิธีดำเนินการ และ 37 ตัวชี้วัด และ 3) กลยุทธ์ในภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The objectives of this study were to 1) study the current state and the desirable state of learning and innovation skills of primary students; 2) devise a strategy in developing learning and innovation skills of primary students and 3) examine the appropriateness and feasibility of the strategy on the development of learning and innovation skills of primary students. This study was a mixed-methods research. The sample group in the study consisted of 390 school directors and academic teachers selected with multi-stage random sampling technique. The research instrument was the questionnaire, while statistics used in data analysis were mean, percentage, standard deviation and PNIModified.

The findings were 1) as a whole, the current state of learning and innovation skill development of primary students was in an overall at the medium level. On the other hand, the overall picture of the desirable state of learning and innovation skill development of primary students was at the highest level. 2) The strategy on the development of learning and innovation skills of primary students comprised vision, 10 missions, 12 purposes, 9 strategies, 12 goals, 32 operational approaches and 37 indicators and 3) In an overall picture, the appropriateness and feasibility of the strategy on the development of learning and innovation skills of primary students was at the highest level.

 

Download in PDF (757.74 KB)

How to cite!

สรญา วัชระสังกาศ, วาโร เพ็งสวัสดิ์, & วัลนิกา ฉลากบาง. (2566). การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนประถมศึกษา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(2), 222-236

References

กานดา จันทร์แย้ม. (2562). อิทธิพลของบุคลิกภาพ ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้นำและผู้ตาม ต่อการมีภาวะผู้นำแบบสร้างแรงบันดาลใจของหัวหน้าภาควิชาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา,14(2), 204.

ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว, ประวิทย์ สิมมาทัน, และกนก สมะวรรธน. (2559). รูปแบบการเรียนรู้แบบเปิดตามแนวคิดคอนเน็คติวิสต์ซึม เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(1), 47-48.

คณิศร จี้กระโทก, ดนุวัช ด้วงแพ, และอภิวัฒน์ชาภักดี. (2563). สื่อการเรียนรู้เรื่องภัยธรรมชาติโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม. วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(1), 66-67.

จริยา พิชัยคำ. (2559). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมพัฒนาได้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(1), 3.

นวพันธ์ เถาะรอด. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการแก้ปัญหาแบบ SSCS ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 . วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 15(2), 87.

นิคม เหลี่ยมจุ้ย. (2559). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(2), 128.

ปภัสชญา เสมา. (2560). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการร่วมมือแบบสืบสอบที่มีต่อความสามารถ ในการให้เหตุผลและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางวิชาการ, 12(4), 668.

ประทีป คงเจริญ. (2564). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม: คุณลักษณะสำคัญของพลโลกในยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(3), 168.

ระพีพัฒน์ หาญโสภา, พระมหาศุภชัย ศุภกิจโจ, ประยุทธ ชูสอน, สุทธิพงษ์ สนสุวรรณ, และมณฑกานต์ บุ่งเสน่ห์. (2563). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(2), 168.

วารีรัตน์ แก้วอุไร, จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม, รุจโรจน์ แก้วอุไร, และประทีป คงเจริญ. (2562). การพัฒนาเครือข่ายครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งส่งเสริมผู้เรียนด้านทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 9(2), 80.

วิจารณ์ พาณิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สรวลัย นันท์ชัย, เชษฐภูมิ วรรณไพศาล, และแสวง แสนบุตร. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักสูตรสังคมศึกษาของโรงเรียนกีฬาจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(3), 267.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ 2564-2565. สืบค้น 20 ตุลาคม 2564, จาก www.obec.go.th.

สิทธิพล อาจอินทร์, อังคณา ตุงคะสมิต, จตุภูมิ เขตจัตุรัส, และดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2562). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42(2), 111.

เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด STEAM เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 11(1), 119-120.

Lee, J., Jung, Y., & Yoon, S. (2019). Fostering group creativity through design thinking projects. Knowledge Management & E-Learning, 11(3), 379-380.

Manion, K., Shah-Preusser, N., Dyck, T., & Susan, T. S. (2020). Learning in teams: collaboratively guiding the journey. Collected Essays on Learning and Teachingง(8), 25.

Salamondra, T. (2021). Effective communication in schools. BU Journal of Graduate Studies in Education, 13(1), 22.

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in