วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ผลการจัดการเรียนรู้แบบ Model – Eliciting Activities (MEAs) ที่ส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงินสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Effects of Implementing the Model-Eliciting Activities (MEAs) on the Promotion of Mathematical Problem-Solving Abilities on Interest and Value of Money of Mathayomsuksa Five Students


วันที่ส่งบทความ: 29 พ.ย. 2564

วันที่ตอบรับ: 18 ม.ค. 2565

วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2566


บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Model – Eliciting Activities (MEAs) กับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 2) ประเมินระดับความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบ Model – Eliciting Activities (MEAs) เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคำนวณ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบ Model – Eliciting Activities (MEAs) หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในระดับดี

 

Abstract

The objectives of this research were 1) to compare the ability to solve mathematical problems on interest and value of money of Mathayomsuksa Five students using Model-Eliciting Activities (MEAs) measured with 60% standard criteria, and 2) to evaluate the level of ability to solve mathematical problems on interest and value of money of Mathayomsuksa Five students. The sample of this study consisted of Mathayomsuksa five students of a large school in Bangkok, enrolled in the second semester of Academic Year 2020. Fifteen students were selected by cluster random sampling. Research instruments included 8 mathematics learning management plans according to Model-Eliciting activities on interest and value of money, and a test to measure mathematical problem-solving abilities on interest and value of money. Data were analyzed using statistics including percentage, mean, standard deviation, and t-test.

The research findings indicated that after studying with Model-Eliciting Activities (MEAs), the ability to solve mathematical problems on interest and value of money was higher than the 60% level criteria with a statistical significant level of .05. In conclusion, the mathematical problem-solving abilities of students was the “Good” level.

Download in PDF (992.35 KB)

How to cite!

พรศิริ สอนลิลา, ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์, & ชานนท์ จันทรา. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ Model – Eliciting Activities (MEAs) ที่ส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงินสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(2), 155-172

References

กฤษณะ เนียมมณี. (2562). คณิตศาสตร์การเงินในชีวิตประจำวัน.  กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมวิชาการ. (2544). การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาพลาดพร้าว.

ขวัญหทัย พิกุลทอง, และ ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์.  (2562). MODEL ELICITING ACTIVITIES (MEAS): การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนไทยในยุคการศึกษา 4.0. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาลัยนเรศวร21(3), 342-355.

ขวัญหทัย พิกุลทอง, ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์, สิริพร ทิพย์คง, และ ชานนท์ จันทรา. (2562). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์การจัดการเรียนรู้แบบ Model-Eliciting Activities (MEAs) และการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์.  วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 29(3), 14-31.

ทรงชัย อักษรคิด. (2555). การแก้ปัญหาและการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิสต้า อินเตอร์ปริ้นท์.

วิฬาร์ เลิศสมิตพร. (2562). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนว Model - Eliciting Activities ที่มีต่อความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารออนไลน์ทางการศึกษา12 (3), 425-441.

ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถานบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมินPISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. สืบค้น 20 ธันวาคม 2564, จากhttp://www.ipst.ac.th

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). รายงานผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2011 วิชาคณิตศาสตร์. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2564, จาก http://timssthailand.ipst.ac.th/timss2011-math-report.

---------.  (2555). การวัดผลและประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน

---------.  (2557).  ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์. สืบค้น 10 เมษายน  2564, จาก http://pisathailand.ipst.ac.th/ isbn9786163621344.

---------.  (2560).  คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรังปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. สืบค้น 12 กรกฎาคม   2564, จาก https://www.scimath.org/e-books/8379/8379.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Baroody, A.J. (1993). Problem solving reasoning and communicating K – 8 helping children Think Mathematically. New York: Macmillan.

Gonzales, N. A. (1994). Problem posing: A neglected component in mathematics courses for prospective elementary and middle school teachers. School Science And Mathematics, 9(2), 78–84.

Krulik, S. and Rudnick, J. A. (1993). Reasoning and Problem Solving: A Handbook for Elementary School Teacher. Boston: Allyn & Bacon.

Lesh, R., & English, L. D. (2005). Trends in the evolution of modela and modeling perspectives on mathematical learning and problem solving. In H. Chick & J. Vincent (Eds.), Proceedings of the 29th Annual Conference of the International Group f.  Germany: Springer Verlag.

Lesh, R., Hoover, M., Hole, B., Kelly, A., Post, T., (2000) Principles for Developing Thought-Revealing Activities for Students and Teachers. In A. Kelly, R. Lesh (Eds.), Research Design in Mathematics and Science Education. (pp. 591-646). Mahwah, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates

Mayer, R., E. (2003). Learning and instruction. NJ: Merrill.

Nation Council of Teachers of Mathematics (NCTM). (2000). Principles and Standards for School Mathematic. Virginia, Reston: Author.

--------- (2003)Principles and Standards for School Mathematic. Virginia, Reston: Author.

Polya, G. (1957). How to Solve It: A New Aspect of Mathematical Method. New York. Doubleday Anchor.

Showalter, Q.  (2008). The effect of model-eliciting activities on problem solving process and student disposition toward mathematics. Graduate degree program in Education Mathematics Education, University of Kansas.

The National Council of Supervisors of Mathematics (NCSM). (2005). Basic Mathematical Skills. Retrieved August 1, 2021, from http://www.deafed.net/PublishedDocs/sub/960905c.htm.

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in