วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอนด้วยชุดการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง นวัตกรรมแห่งการศึกษายุคใหม่สำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา

Adjusting Learning and Changing Instruction Method with the Flipped Classroom Learning Management Package. New Era Educational Innovations for Tertiary-Level Students


วันที่ส่งบทความ: 31 ต.ค. 2564

วันที่ตอบรับ: 23 ธ.ค. 2564

วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2566


บทคัดย่อ

การปรับวิธีเรียน และการเปลี่ยนวิธีสอน นับเป็นวิธีการปรับเปลี่ยนแนวคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดที่เรียกว่า การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นแนวคิดในการพัฒนาผู้สอนและผู้เรียนระดับอุดมศึกษาให้มีคุณลักษณะพร้อมสำหรับการดำรงชีวิตและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยใช้ “ชุดการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง” ที่ประสานเข้ากับอนุกรมวิธานดิจิทัลของบลูม (Bloom's digital taxonomy) จึงเป็นอีกนวัตกรรมและมุมมองหนึ่งของตัวอย่างจากประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นในวงการศึกษา เป็นวิธีการใช้ห้องเรียนให้เกิดคุณค่าแก่ผู้เรียน โดยประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบ “รู้จริง (Mastery Learning)” ซึ่งทำให้บทบาทของผู้สอนเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง คือไม่ใช่บทบาทผู้ถ่ายทอดความรู้ แต่มีบทบาทในการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการที่เปรียบเสมือนโค้ช หรือเป็นผู้จุดประกายทางความคิด โดยการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สร้างความสนุกสนานในการเรียน และเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียน ส่วนผู้เรียนนั้นได้มีเวลาเรียนรู้แบบรู้จริงและลงมือปฏิบัติมากยิ่งขึ้น เป็นวิธีที่ช่วยกำหนดกรอบให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาส่วนบุคคลที่เหมาะกับความต้องการของตน และช่วยให้ผู้เรียนที่มีความแตกต่างได้เลือกใช้วิธีการเรียนรู้ที่ตนเองถนัดในการศึกษาบทเรียนสื่อเทคโนโลยีที่ผู้สอนเป็นผู้เตรียมไว้ให้ 

Abstract

Adjusting the learning approach and changing the instructional approach are regarded as a way to change ideas to create an educational innovation under the concept of ‘21st Century Learning’This is an idea to enhance instructors and learners at the tertiary level to be qualified for real life survival and able to cope with any changes in the COVID-19 pandemic situation by using the “Flipped Classroom Learning Package”, which is integrated with Bloom's digital taxonomy. Therefore, it can be regarded as an innovation and a new pedagogical perspective derived from real experiences in the education field. It is an approach of using the classroom to create value for learners by applying knowledge in various situations to achieve “Mastery Learning”. As a result, the role of the instructors has changed completely: the instructors play not only the role in knowledge transfer but also as an academic mentor who acts as coach or thought-provoking person by asking various questions to encourage learners to learn and make learning fun. In addition, the instructors act as a facilitator for learning. As for the learners, they will have more time to engage in actual learning and practice. It is an approach establishing a framework for learners to receive a personalized education that is tailored to the individual needs. It also allows different learners to choose their preferred learning style in the study of technological instructional materials provided by the instructors.

Download in PDF (1.07 MB)

How to cite!

ทรรศนัย โกวิทยากร, & กีรติ นันทพงษ์. (2566). ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอนด้วยชุดการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง นวัตกรรมแห่งการศึกษายุคใหม่สำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(2), 267-281

References

กิตติพงษ์ พุ่มพวง, และ ทิพรัตน์  สิทธิวงศ์. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียน การสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(2), 1-11.

เกริก ท่วมกลาง, และ จินตนา ท่วมกลาง. (2555). การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์ (1988).

จันทิมา ปัทมธรรมกุล. (2555). ทำความรู้จัก Flipped Classroom. สืบค้น 12 สิงหาคม 2564, จากhttp://www2.li.kmutt.ac.th/thai/article/gettingotoknow.html.

จิรายุทธิ์ อ่อนศรี. (2564). การพัฒนาแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้สู่การปฏิบัติในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 5 ตุลาคม 2564, จาก http://www.nwm.ac.th/nwm/wp-content/uploads/2018/07-21.pdf.

ใจทิพย์  ณ สงขลา. (2561). การออกแบบการเรียนตามแนวดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2560). ห้องเรียนกลับด้าน : ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 171-182.

ชมทิศา  ขันภักดี. (2555). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง PDCA ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการนำเสนอความรู้ด้วยหนังสือการ์ตูนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทัศนวรรณ  รามณรงค์. (2556). ห้องเรียนกลับด้าน. สืบค้น 12 สิงหาคม 2564, จาก http://www.gotoknow.org/ posts/548870.

ทะเนศ วงศ์นาม, ทิพรัตน์  สิทธิวงศ์, และศศิธร  นาม่วงอ่อน. (2563). ผลการใช้ชุดการสอนแบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนแบบยืดหยุ่นเพื่อส่งเสริมทักษะด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนิสิตปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(2), 98-112.

ทิพย์ภาพรรณ เอี่ยมลออ, และอินทิรา รอบรู้. (2564). การออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 14(1), 37-48.

บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2563). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สู่กรอบมาตรฐานวิชาชีพการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, 2(3): 1-17.

ปิยะวดี  พงษ์สวัสดิ์, และณมน  จีรังสุวรรณ. (2558). การออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้กิจกรรม WebQuit เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 6(1), 151-157.

เมธา อึ่งทอง, ผดุงชัย ภู่พัฒน์, และชิตพล มังคลากุล. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักวิชาชีพครู. วารสาร วิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12  (พิเศษ), 82-92.

วิจารณ์  พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วิเชียร  ธำรงโสตถิสกุล. (2560). บทสะท้อนแนวคิดว่าด้วยชุดการสอน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และชุดการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 356-369.

สุรศักดิ์  ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 10 สิงหาคม 2564, จากhttp://www. mbuisc.ac.th/phd/academic/flipped%20classroom2.pdf

สุพัตรา อุตมัง. (2558). แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน : ภาพฝันที่เป็นจริงในวิชาภาษาไทย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1), 51-58.

อุรสา  พรหมทา,  และสมชาย  วงศา. (2561). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ รายวิชาความเป็นครู. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3), 34-42.

Aggarwal, K., Thakur B., Agrawal M., Jhajharia S., Himanshu M., & Mahapatra Kr. (2019). A comparative study between flipped classroom and traditional lecture based classroom in first year medical students. International Journal of Research in Medical Sciences, 7(10): 3654-3659.

Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip your Classroom: Reach Every Student in Every Class Every Day Jonathan. International Society for Technology in Education. Washington DC: International Society for Technology in Education World.

---------. (2014). Flipped learning: Gateway to student engagement. Washington DC: International Society for Technology in Education.

Bloom, B.S., & et al. (1976). Taxonomy of Educational Objectives. New York: Longman Group.

Johnson, G. B. (2013). Student Perceptions of the Flipped Classroom (Master’s thesis). Canada: University of British Columbia.

Royal Institute of Thailand. (2012). Royal Institute Dictionary of Education. Bangkok: Royal Institute of Thailand.

Schneider, J., Munro, I., & Krishnan, S. (2014). Flipping the Classroom for Pharmacokinetics. American Journal of Educational Research, 2(12), 1225–1229.

Strayer, J. (2007). The effects of the classroom flip on the learning environment: a comparison of learning activity in a traditional classroom and a Flip classroom that used an intelligent tutoring system (Doctoral dissertation). Ohio: The Ohio State University.

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in