วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและผลการสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ตามโมเดลการสร้างมโนทัศน์ของ Lasley & Matczynsky เรื่อง ลำดับและอนุกรมอนันต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

The Study of Mathematical Misconceptions and Effects of Using the Concept Formation Model of Lasley & Matczynski on Infinite Sequences and Series of Mathayomsuksa Six Students


บทคัดย่อ

   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์  และผลการสร้างมโนทัศน์ตามโมเดลการสร้างมโนทัศน์ของ Lasley & Matczynsky  เรื่อง ลำดับและอนุกรมอนันต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเป้าหมายเพื่อการศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 45 คน และ 2) กลุ่มเป้าหมายเพื่อศึกษาผลการสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 คน ของโรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรมอนันต์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ลำดับและอนุกรมอนันต์ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโมเดลการสร้างมโนทัศน์ของ Lasley & Matczynsky จำนวน 14 คาบเรียน และ 3) แบบบันทึกการสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ความถี่  ร้อยละ และค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา  

   ผลการวิจัยจากกลุ่มเป้าหมายแรกพบว่า ประเภทของมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนที่มีความถี่จากมากไปน้อย ดังนี้ 1) การมีมโนทัศน์ที่จำกัด 2) ความเข้าใจที่บกพร่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์ 3) การอ้างอิงเกินขอบเขตหรือเงื่อนไข และ 4) การตีความผิดและผลการวิจัยจากกลุ่มเป้าหมายที่สองพบว่า หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอนของโมเดลการสร้างมโนทัศน์ของ Lasley & Matczynsky พบประเภทของมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในความถี่ที่ลดลง และเกิดขึ้นเพียง 2 ประเภท ดังนี้ 1) การมีมโนทัศน์ที่จำกัด และ 2) ความเข้าใจที่บกพร่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์

Abstract

  This study aimed to study mathematical misconceptions and effects of using the concept formation model of Lasley & Matczynski of Matthayomsuksa Six students on infinite sequences and series.  There were 2 target groups in this study: 1) the target group for the study of mathematical misconceptions were 45 students from a large school in Bangkok in Academic Year 2019, and 2) the target group for studying the effects of using the concept formation model of Lasley & Matczynski were 32 students in the Academic Year 2020. The instruments of this study were 1) mathematical concepts of infinite sequences and series tests 2) 14-period lesson plans using the concept formation model of Lasley & Matczynski on infinite sequences and series and 3) learning observation forms to record the mathematical concepts The quantitative data were analyzed by using frequency, percentage, and mean. The qualitative data were analyzed by content analysis.

  The study results from the first target group found that the types of mathematical misconceptions in descending order were 1) Limited Conceptions 2) Defective understanding of mathematical facts 3) Overgeneralization, and 4) Misinterpretation. Results from the second target group found that after using the concept formation model of Lasley & Matczynski, only 2 types of mathematical misconceptions were found in a decreasing number: 1) limited conceptions and 2) defective understanding of mathematical facts.

Download in PDF (970.34 KB)

How to cite!

เอกพล กมลเพชร, ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์, & ทรงชัย อักษรคิด. (2566). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและผลการสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ตามโมเดลการสร้างมโนทัศน์ของ Lasley & Matczynsky เรื่อง ลำดับและอนุกรมอนันต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(2), 19-35

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in