วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การใช้การคิดเชิงคำนวณของนักเรียนในการเขียนโปรแกรมเพื่อบรรลุจุดประสงค์ของบทเรียนผ่านกิจกรรมแบบ Unplugged: เน้นขั้นการสอนและการสังเกตชั้นเรียนร่วมกันโดยใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด

Using Students’ Computational Thinking in Programming for Meeting Lesson Objectives through Unplugged Activities: Focusing on Collaboratively Do Phase Using Lesson Study and Open Approach


วันที่ส่งบทความ: 31 ม.ค. 2565

วันที่ตอบรับ: 28 ก.พ. 2565

วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2566


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้การคิดเชิงคำนวณของนักเรียนในการเขียนโปรแกรมเพื่อบรรลุจุดประสงค์ของบทเรียนผ่านกิจกรรมแบบ Unplugged เน้นขั้นการสอนและสังเกตชั้นเรียนร่วมกันโดยใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 23 คน และทีมการศึกษาชั้นเรียนจำนวน 5 คนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กของรัฐแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพิษณุโลก ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 10 สัปดาห์ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกวิธีปฏิบัติการสอน การบันทึกวีดิทัศน์ การบันทึกภาพนิ่ง ผลงานของนักเรียน และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์วิดีทัศน์ร่วมกับวิเคราะห์โพรโทคอล และนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า ทีมการศึกษาชั้นเรียนร่วมกันสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ โดยตระหนักถึงการคิดเชิงคำนวณของนักเรียน เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมผ่านกิจกรรมแบบ Unplugged จากนั้นทำการสอนด้วยวิธีการแบบเปิดโดยครูให้ความสำคัญกับการใช้ปัญหาปลายเปิดที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียน รื่อง การทำส้มตำ เพื่อช่วยกระตุ้นให้นักเรียนใช้การคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหา หลังจากนั้นครูสำรวจการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนเพื่อใช้จัดลำดับ และทำการเชื่อมโยงการคิดเชิงคำนวณในขั้นของการอภิปรายร่วมกันโดยครูเชื่อมโยงการคิดเชิงคำนวณตั้งแต่ การคิดแบบลำดับขั้นตอน การคิดแบบมีเงื่อนไข และการคิดแบบวนซ้ำผ่านการใช้คำถาม การอภิปราย การใช้สื่อแบบ Unplugged ร่วมกับการใช้กระดานดำเพื่อสรุปบทเรียนร่วมกันจนนำไปสู่การบรรลุจุดประสงค์ของบทเรียน

Abstract

This qualitative research aimed to study the type of students’ computational thinking used in programming to meet lesson objectives through Unplugged Activities focusing on collaboratively Do Phase using lesson study and open approach. The target groups consisted of 23 third-grade students and a five-member lesson study team. The study was conducted in the first semester of Academic Year 2021 at a small public elementary school in Phitsanulok. The 10-week data were collected from lesson plans, the teacher’s field notes, video records, pictures, students’ worksheets and interview forms. The text data were content analyzed and protocol analysis was adopted for video records. Descriptive analysis was used to present the results. 

The findings revealed that the five-member lesson study team collaboratively created the lesson plans with an emphasis on the students’ computational thinking in programming through unplugged activities. Then, the open approach was implemented in teaching which focused on open-ended problems relating to the students' daily life about making papaya salad to encourage the students to use their computational thinking in problem solving. After that, the students’ computational thinking patterns were surveyed by the teachers’ team, ordered and grouped during the whole class discussion from sequences, conditionals and loops through the use of questions, discussions, unplugged materials on the blackboard to summarize the whole class lesson study toward meeting the lesson objectives.

Download in PDF (980.75 KB)

How to cite!

ไกรลาส มาตรมูล, พิชิตชัย ปิมแปง, & เทพธิทัต เขียวคำ. (2566). การใช้การคิดเชิงคำนวณของนักเรียนในการเขียนโปรแกรมเพื่อบรรลุจุดประสงค์ของบทเรียนผ่านกิจกรรมแบบ Unplugged: เน้นขั้นการสอนและการสังเกตชั้นเรียนร่วมกันโดยใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(2), 1-18

References

 

กัญญารัตน์ โคจร, กันยารัตน์ สอนสุภาพ, และสมทรง สิทธิ. (2565). การศึกษาการใช้แนวคิดการวิจัยเป็นฐานร่วมกับการศึกษาผ่านบทเรียนในการส่งเสริมการคิดของนักเรียน.วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต ,16(1), 18-32.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2560). การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดเพื่อพัฒนาคุณภาพชั้นเรียนและ “เคียวไซ เคงคิว”ในการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการสำหรับบุคลากรทางการศึกษา. ศรีสะเกษ: โรงเรียนอนุบาลดำรงราชานุสรณ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). หนังสือเรียนรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ไอย์ลดา สมภาร, เมษยะมาศ คงเสมา, และจีระวรรณ เกษสิงห์. (2565). การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่มีการโต้แย้ง ในรายวิชาชีววิทยา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(1), 33-49.

Bell, T., & Vahrenhold, J. (2018). CS unplugged—how is it used, and does it work?. In Hans-Joachim

Böckenhauer, Dennis Komm, & Walter Unger (Eds.), Adventures Between Lower Bounds and Higher Altitudes (p.497-521).  Switzerland: Springer Cham.

Boonsena, N., Inprasitha, M., Changsri, N.,& Matney, G. (2019). Teachers Learning about Teaching Practice in a Modify Lesson Study. Psychology, 10, 977-988.

Brennan, K., & Resnick, M. (2012). New Frameworks for Studying and Assessing the Development of Computational Thinking. In Proceedings of the 2012 Annual Meeting of the American  Educational Research Association. Vancouver, Canada.

Inprasitha, M. (2011). One feature of adaptive lesson study in Thailand: Learning unit. Journal of Science  and Mathematics Education in Southeast Asia, 34(1), 47- 66.

Inprasitha, M., Changsri, N., & Isoda, M. (2021). Looking back on the 12-year APEC Lesson Study Project: Thailand perspective. SEMEO Journal, 2020(2), 129-135.

Intaros, P., & Inprasitha, M. (2019). How Students’ Mathematical Ideas Emerged through Flow of Lesson in Classroom Using Lesson Studyand Open Approach. Psychology, 10, 864-876.

Isoda, M., & Katagari, S. (2012). Mathematical thinking: how to develop it in the classroom. Singapore:  World Scientific.

Lim, B. L., & Chen, C. J. (2021). Computational Thinking (Algorithms) Through Unplugged Programming Activities: Exploring Upper Primary Students’ Learning Experiences. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 11(14), 384-403.

Nasinsroy, J., Inprasitha, M., & Changsri, N. (2021). Synthesis of Research on Mathematical Thinking Development under the Lesson Study and Open. Randwick International of Education and Linguistics Science (RIELS) Journal, 2(3), 296-306. 

Nishida, T., Idosaka, Y., Hofuku, Y., Kanemune, S., & Kuno, Y. (2008). New Methodology of Information Education with “Computer Science Unplugged.” In R. T. Mittermeir & M. M. Sysło (Eds.), Informatics education - Supporting Computational Thinking: Vol. 5090 LNCS (pp. 241–252). Berlin, Heidelberg: Springer Berlin Heidelberg.

Özdemir, S.M. (2019). Implementation of the Lesson Study as a Tool to Improve Students' Learningand Professional Development of Teachers. Participatory Educational Research (PER), 6(1), 36-53

Saengpun, J. (2013). Classroom Discourse and Its Role in Students’ Development of Semiotic Activity in Mathematics Classroom Taught by Open Approach. International Review of Social Sciences and Humanities, 5(1), 192-200.

Shimizu, Y. (1999). Aspect of mathematics teacher education in Japan: Focusing on teachers’roles. Journal of Mathematics Teacher Education, 2(1), 107-116.

Song, J. B. (2019). The Effectiveness of an Unplugged Coding Education System that Enables Coding Education without Computers. Universal Journal of Educational Research, 7(5A), 129-137.

Thies, R., & Vahrenhold, J. (2013). On Plugging Unplugged into CS Classes. Proceeding of the 44th ACM Technical Symposium on Computer Science Education  (p.365-370). New York, USA: ACM Press.

Threekunprapa, A., & Yasri, P. (2020). Unplugged Coding Using Flowblocks for Promoting Computational Thinking and Programming among Secondary School Students. International Journal of Instruction, 13(3), 207-222.

Wing, J. M. (2006). Computational thinking. Communications of the ACM, 49(3), 33.

 

 

 

 

 

 

 

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in