วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณเรื่องวงจรไฟฟ้าด้วย CICP model ร่วมกับการเขียนโปรแกรมแบบบล็อกคำสั่ง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Development of Computational Thinking Skills on the Topic of Electric Circuits through CICP Model with Block-based Programming for Grade 6 Students


บทคัดย่อ

การวิจัยปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณเรื่องวงจรไฟฟ้า และศึกษาผลการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณเรื่องวงจรไฟฟ้าด้วย CICP model ร่วมกับการเขียนโปรแกรม แบบบล็อกคำสั่ง ผู้เข้าร่วมวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดพิจิตร จำนวน 18 คน โดยทำการศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง CICP model ร่วมกับการเขียนโปรแกรมแบบบล็อกคำสั่ง แบบสะท้อนการเรียนรู้ แบบบันทึกกิจกรรม และแบบประเมินทักษะ การคิดเชิงคำนวณ ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3 วงจรปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีการและแหล่งข้อมูล พบว่า แนวทาง การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณเรื่อง วงจรไฟฟ้า มี 4 ขั้นตอน คือ 1) แยกประเด็นปัญหาต่าง ๆ จากสถานการณ์หลัก เป็นการเลือกใช้ภาพสถานการณ์จำลองที่ครอบคลุมปัญหาวงจรไฟฟ้าจากหลายสาเหตุสำหรับการวิเคราะห์ปัญหา      จากสถานการณ์จำลอง 2) ระบุความคล้ายกันของแต่ละปัญหา เป็นการสร้างความเข้าใจความแตกต่างของปัญหาหลัก กับแนวโน้มของปัญหา เพื่อใช้ในการระบุรูปแบบ แนวโน้ม และความคล้ายกันของปัญหาวงจรไฟฟ้าที่กำหนด 3) ลดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง เป็นการใช้กิจกรรมกลุ่มให้ผู้เรียนร่วมกันแยกข้อมูลที่สำคัญออกจากข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัญหาที่กำหนด และ 4) วางแผนการเรียนรู้ทีละขั้นตอน เป็นการเตรียมความพร้อมการเขียนผังงาน การออกแบบผังงาน และเขียนโปรแกรมแบบบล็อกคำสั่งด้วย Microsoft MakeCode สำหรับ micro:bit เพื่อสร้างชิ้นงานสำหรับแก้ปัญหาจากสถานการณ์วงจรไฟฟ้าตามผังงานที่ได้ออกแบบ นอกจากนี้พบว่าระดับทักษะ การคิดเชิงคำนวณระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณหลังเรียนด้วย CICP model ร่วมกับการเขียนโปรแกรมแบบบล็อกคำสั่งที่อยู่ในระดับ 4 การถ่ายโอนแบบใกล้เช่นเดียวกัน

Abstract

This action research aimed to develop guidelines for the development of computational thinking skills on the topic of electric circuits and to study the results of the development of computational thinking skills on electrical circuits using the CICP model with block-based programming. The study participants were 18 Grade 6 students at a small school in the Phichit province, in the second semester of the Academic Year 2020. The research instruments consisted of lessons plans, reflective journals, activity sheets of electric circuits and assessment forms of computational thinking skills. The research was carried out by using 3-cycle of action research processes. This research used content analysis with method triangulation and resource triangulation for reliability of findings.The results showed that there were 4 steps: 1) identify problematic issues based on the situations, which consisted of the use of simulations from a number of problems 2) identify the similarities of each problem to develop an understanding of major problems and the following trends to identify patterns, trends and similarities of the given electric circuits problem, 3) compress the data by using cooperative learning groups to the data to separate relevant data form irrelevant ones. and 4) planning the step-by-step instruction by preparation for writing of flowcharts, creating flowcharts, and write a block-based programming according to the designed flowchart through the Microsoft MakeCode for micro.bit to create work pieces to solve situations of electric circuits problems. In addition, it was found that the level of computational thinking skills during the learning activities corresponded to the level of computational thinking skills after using the CICP model with block-based programming at Level 4 near transfer.

Download in PDF (1.1 MB)

How to cite!

ดำรงฤทธิ์ คุณสิน, & สุรีย์พร สว่างเมฆ. (2566). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณเรื่องวงจรไฟฟ้าด้วย CICP model ร่วมกับการเขียนโปรแกรมแบบบล็อกคำสั่ง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(1), 17-33

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in