ผลการใช้กิจกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI
The Effects of Mathematics Activities on Percentage for Prathom Suksa Five Students Based on the Team Assisted Individualization (TAI) Technique
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ตามวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ตามวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (dependent t-test)
ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI มีประสิทธิภาพ 84.22/82.08 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 (2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ตามวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ตามวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI พบว่า อยู่ในระดับมาก
Abstract
This study aimed to (1) develop mathematics activities on percentage for Prathom Suksa Five students based on the concept of the Team Assisted Individualization (TAI) technique with the criterion efficiency of 80/80, (2) compare academic achievement in mathematics on percentage prior to and after the study based on the TAI technique of the students under study, and (3) examine student satisfaction with percentage from the activities based on the TAI technique. The collected data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and t-test (Dependent samples).
The findings of the study were: (1) The development of mathematics activities on percentage for the students under investigation based on the TAI technique found the efficiency to be 84.22/82.08 which was higher than the criteria set of 80/80,(2) The comparison of academic achievement prior to and after in mathematics on percentage based on the TAI technique for Prathom Suksa Five students was higher than before learning with the statistically significant difference at 0.05 level, and (3) The study of student satisfaction with percentage with the activities based on the TAI technique was at the high level.
Keywords
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI; ร้อยละ; Team Assisted Individualization (TAI); Percentage
How to cite!
สุชานันท์ จงนอก, นพพร แหยมแสง, & วรนุช แหยมแสง. (2565). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(2), 175-187
Indexed in