การเสนอแนวการจัดนวัตกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการทรัพยากรชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Proposed Guideline Management for Innovation of Cooperative Local History Learning to Promote Creative Community Resource Management Skill of High School Students
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดนวัตกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการทรัพยากรชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อเสนอแนวการจัดนวัตกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบร่วมมือ ที่ส่งเสริมทักษะการจัดการทรัพยากรชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสานทางการศึกษา ใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้การเก็บข้อมูลจาก 1) ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 7 คน และ 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการเรียนรู้ จำนวน 5 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 2) แบบประเมินความเหมาะสมของนวัตกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการทรัพยากรชุมชนเชิงสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาแนวคิดนวัตกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการทรัพยากรชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการสังเคราะห์พบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่เหมาะสำหรับการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มีลักษณะที่สำคัญ 4 ประการดังนี้ 1. กระบวนการกลุ่ม 2. เป้าหมายของกลุ่ม 3. สมาชิกมีบทบาทชัดเจนและทำงานไปพร้อม ๆ กัน 4. การแข่งขันเป็นทีม 2) การเสนอแนวการจัดนวัตกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบร่วมมือ ที่ส่งเสริมทักษะการจัดการทรัพยากรชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า มีแนวการจัดนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการจัดการทรัพยากรชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน เรียกว่า “Plan Relate Organize Evaluate (PROE) ” ซึ่งเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Abstract
The aims of this study were (1) to study innovation of cooperative local history learning and (2) to present the proposed guideline management for innovation of cooperative local history learning to promote creative community resource management skill of high school students. The study was a mixed educational method based on the concept of cooperative learning. The data was collected from 7 school administrators and teachers and 5 learning process experts obtained by using the purposive sampling. The instruments for the study included the unstructured interview and the cooperative local history learning management innovation to promote creative community resource management skills assessment. The data were analyzed by using mean, standard deviation, and content analysis. The results revealed that 1) cooperative local history learning management innovation to promote creative community resource management skill of secondary school students had four significant characteristics including group processing, group goals, responsibility and collaboration, and team competition 2) The proposed guideline management for innovation of cooperative local history learning to promote creative community resource management skill of high school students consisted of a 4-step process named “Plan Relate Organize Evaluate (PROE).”
Keywords
นวัตกรรมการเรียนรู้; การเรียนรู้แบบร่วมมือ; ทักษะการจัดการทรัพยากรชุมชนเชิงสร้างสรรค์; นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย; ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น; Innovation Learning; Cooperative Learning; Creative Community Resource Management Skill; High school student; Local History
How to cite!
วินิตตา หาญใจ, & ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2565). การเสนอแนวการจัดนวัตกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการทรัพยากรชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(2), 149-163
Indexed in