วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

Development of the Training Packages for Professional Development of English Instructors from Prathom Suksa 1 to Mathayom Suksa 3 Based on the International Qualification Frameworks

การพัฒนาชุดฝึกอบรมสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามกรอบคุณวุฒิระดับนานาชาติ


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกอบรมสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามกรอบคุณวุฒิระดับนานาชาติ 2) เพื่อประเมินผลการใช้ชุดฝึกอบรมสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูภาษาอังกฤษตามกรอบคุณวุฒิระดับนานาชาติ และ3) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของครูผู้เข้ารับการอบรมต่อการฝึกอบรม ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 42 คน ได้มาโดยการสมัครใจ เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) ชุดฝึกอบรมสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูภาษาอังกฤษตามกรอบคุณวุฒิระดับนานาชาติ 2) แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม และ 3) แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การคำนวณคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) จากการสังเคราะห์กรอบคุณวุฒิระดับนานาชาติทำให้ได้เนื้อหาในการสร้างชุดฝึกอบรม ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา 3 ส่วน ได้แก่ ด้านทักษะภาษาอังกฤษ ด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และด้านการพัฒนาตนเองในเชิงวิชาชีพ 2) ชุดฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมามี 6 โมดูล ได้แก่ (1) การฟังและจับประเด็นหลักของเรื่องที่คุ้นชิน (2) การพูดและเล่าประสบการณ์ในบริบทที่คุ้นชิน (3) การอ่านและจับใจความเรื่องราวที่คุ้นชิน (4) การเขียนข้อความในเรื่องที่คุ้นชิน (5) การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบและการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ (6) การวางแผนพัฒนาตนเองในเชิงวิชาชีพ 3) ภายหลังการอบรม ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ มีพัฒนาการด้านทักษะภาษาอังกฤษอยู่ในระดับกลาง (จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33) ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ มีพัฒนาการด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอยู่ในระดับสูง (จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 38.09) และผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ มีพัฒนาการด้านการวางแผนพัฒนาตนเองในเชิงวิชาชีพในระดับต้น (จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 50) 4) ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยได้ค่าเฉลี่ย 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54

Abstract

The objectives of this study were 1) to develop the professional development training packages for English instructors based on the international qualification frameworks, 2) to evaluate the usage of the developed training packages, and 3) to survey the satisfaction of the English instructors towards the training programs. The participants of the study included 42 English instructors who teach in Prathom Suksa 1 – Mathayom Suksa 3 from all parts of Thailand, obtained by volunteer sampling technique. The instruments included 1) the training packages for professional development of English instructors based on the international qualification frameworks, 2) two parallel forms of an achievement test for pre-testing and post-testing, and 3) a satisfaction questionnaire. The collected data were analyzed using the relative gain score, frequency count, percentage, mean and standard deviation.

The results revealed as follows: first, the developed training packages consisted of 3 parts: English Proficiency, English Teaching and Self-professional Development; second, there were 6 modules in the developed training packages: (1) listening and getting the main ideas in familiar contexts, (2) sustaining monologue and describing experiences in familiar contexts, (3) reading and getting the main ideas in familiar contexts, (4) writing in familiar contexts, (5) planning and teaching English for communication and (6) planning self-professional development; third, after the training packages implementation, the majority of the participants had a medium level improvement of the English proficiency part (14 participants, 33.33%), a high level improvement of the English teaching part (16 participants, 38.09%),  and a beginning level improvement of the self-professional development part respectively (21 participants, 50%); and last, the English instructors’ satisfaction towards the training program was at the highest level (x  = 4.51, S.D. = 0.54).

Download in PDF (516.97 KB)

How to cite!

Boonpok, P., Koolsriroj, U., & Sumalee, S. (2565). การพัฒนาชุดฝึกอบรมสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามกรอบคุณวุฒิระดับนานาชาติ. Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 16(2), 88-101

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in