วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนดนตรีสำหรับโรงเรียนในเขตชายแดน จังหวัดจันทบุรี

Guidelines for the Development of Music Instruction for Border Area Schools in Chanthaburi Province


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ของการเรียนการสอนดนตรีสำหรับโรงเรียนในเขตชายแดน จังหวัดจันทบุรี 2. นำเสนอแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนดนตรีสำหรับโรงเรียนในเขตชายแดน จังหวัดจันทบุรี การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนวิชาดนตรี จำนวน 15 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1. จุดแข็งของโรงเรียนในเขตชายแดน จังหวัดจันทบุรี คือ การบูรณาการดนตรีท้องถิ่นในการเรียนการสอน การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนดนตรี ผู้บริหารโรงเรียนให้การสนับสนุนกิจกรรมดนตรี จุดอ่อน คือ โรงเรียนหลายแห่งขาดผู้สอนที่จบดนตรีโดยตรง ขาดงบประมาณสนับสนุนในการจัดซื้อเครื่องดนตรีและสื่อการสอนดนตรี โอกาส คือ นโยบายของภาครัฐส่งเสริมโอกาสทางการเรียน มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างผู้เรียนหลายเชื้อชาติ และชุมชนให้ความสำคัญกับดนตรี อุปสรรค คือ การวัดประเมินผลที่กำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการมุ่งเน้นวิชาหลัก ทำให้การจัดการเรียนการสอนดนตรีมีความสำคัญรองลงมา และปัญหาที่เกี่ยวกับสิ่งผิดกฎหมาย แรงงานต่างด้าว ปัญหาครอบครัวส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน 2) แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนดนตรีสำหรับโรงเรียนในเขตชายแดน จังหวัดจันทบุรี  แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผู้สอน มีการจัดอบรมผู้สอนดนตรี โดยเน้นสาระดนตรี และวิธีการสอนดนตรีที่เหมาะสมกับผู้เรียน การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของผู้สอน  2) ด้านผู้เรียน ใช้การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ดนตรีนอกเวลาเรียน การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงดนตรี การจัดกิจกรรมที่เสริมทักษะการฟังดนตรี 3) ด้านหลักสูตร จัดทำแผนการสอนที่มีสาระดนตรีครบถ้วน สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และมีการจัดทำหลักสูตรอบรมระยะสั้นสำหรับผู้สอน หรือ ผู้เรียน 4) ด้านการเรียนการสอน ใช้สื่อดนตรีประเภทสร้างสรรค์หรือจัดกิจกรรมดนตรี เพื่อพัฒนาศักยภาพทางดนตรีให้ผู้เรียนได้อย่างครบถ้วนทั้งในด้านทฤษฎีดนตรี ทักษะดนตรี และทัศนคติที่ดีต่อดนตรีของผู้เรียน  โดยข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมทางด้านดนตรี ควรดำเนินการในลักษณะการสร้างความร่วมมือในลักษณะเครือข่ายระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน

Abstract

This research aimed to 1) carry out a SWOT analysis of Music Instruction in Chanthaburi border area schools. and 2) present guidelines for the development of Music Instruction for Chanthaburi border area schools. A qualitative research methodology was implemented. Data were collected by using semi-structured interviews. The participants were 15 school administrators and music teachers in the border area schools.

The results of the research revealed that 1) The strengths of the border area schools in Chanthaburi were integrating local music in instruction, providing an environment for music learning, and supporting music activities of school administrators. The weaknesses were that many schools lacked music teachers who graduated in music programs, got insufficient budget to purchase musical instruments and media for music teaching. The opportunities were government policies promoting educational opportunities, cultural exchanges between multi-ethnic students and strong support for music by the local communities. The threats were mainly evaluation measure that was set by the Ministry of Education to focus on the core subjects resulting in music instruction made to appear less important as well as illegal matters, illegal immigrant workers and family problems that affected to teaching and learning management of the school. 2) Guidelines for the development of music instruction for the border area schools in Chanthaburi province were divided into four areas: 1) The Teacher Aspect: providing training courses for music teachers that focused on music content and music pedagogy, and creating learning networks for music teachers. 2) The Student Aspect: organizing extra music classes outside normal class time for learning music, finding opportunities for students to performing music and organizing activities that enhance listening skills of the students, 3) The Curriculum Aspect:  designing lesson plans that cover all significant topics and can be effectively implemented as well as organizing short training courses for teachers and students,  4) The Teaching and Learning Aspect: Using creative music media or music activities to develop full potential of students in music theories, music skills and good attitudes towards music of the students. Recommendations are that organizing music activities should aim at enhancing cooperation of schools, parents and communities through networking.

Download in PDF (437.97 KB)

How to cite!

สรธัญ สิทธิกรณ์, & จิรกานต์ สิริกวินกอบกุล. (2565). แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนดนตรีสำหรับโรงเรียนในเขตชายแดน จังหวัดจันทบุรี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(2), 19-34

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in