การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับคุณภาพการอุดมศึกษาและการฝึกอบรมที่ส่งผลต่อศักยภาพทางธุรกิจ ที่มีศักยภาพทางนวัตกรรมเป็นตัวแปรปรับ
Multilevel Modelling Analysis of the Higher Education and Training Quality Affecting Business Sophistication Moderated by Innovation Capability
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์โมเดลการวัดของศักยภาพทางธุรกิจ คุณภาพการอุดมศึกษาและการฝึกอบรม และศักยภาพทางนวัตกรรม และ 2) เพื่อวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของคุณภาพการอุดมศึกษาและการฝึกอบรม และศักยภาพทางธุรกิจที่มีศักยภาพทางนวัตกรรมเป็นตัวแปรปรับ โดยใช้ข้อมูลดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Index: GCI 2017-2018) ของประเทศต่าง ๆ จำนวน 126 ประเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) โมเดลศักยภาพทางนวัตกรรม คุณภาพการอุดมศึกษาและการฝึกอบรม และศักยภาพทางธุรกิจมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้งในระดับประเทศ (ระดับภายในกลุ่ม) (within level) และภูมิภาค (ระดับระหว่างกลุ่ม) (between level) และ 2) ผลการวิเคราะห์โมเดลที่มีศักยภาพทางนวัตกรรมเป็นตัวแปรปรับ พบว่า โมเดลที่ศึกษาอิทธิพลทางตรงของตัวแปรในแต่ละระดับมีความเหมาะสมในการนำไปอธิบายลักษณะความสัมพันธ์ของตัวแปรคุณภาพการอุดมศึกษาและการฝึกอบรม ศักยภาพทางธุรกิจ และศักยภาพทางนวัตกรรมในพหุระดับมากกว่าโมเดลที่มีศักยภาพทางนวัตกรรมเป็นตัวแปรปรับ โดยผลการวิเคราะห์โมเดลพหุระดับของโมเดลที่ศึกษาอิทธิพลทางตรงของตัวแปรในแต่ละระดับ พบว่า ในระดับประเทศคุณภาพการอุดมศึกษาและการฝึกอบรมมีอิทธิพลทางตรงต่อศักยภาพทางธุรกิจ (β =.824) ในระดับภูมิภาคศักยภาพทางนวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อศักยภาพทางธุรกิจ (β = .927)
Abstract
This research aimed 1) to analyze the construct measurement model of the quality of higher education and training, business sophistication and innovation capability, and 2) to analyze the multilevel structural equation modelling of the quality of higher education and training, as well as business sophistication, which has innovation capability as a moderator. Data were collected using Global Competitiveness Index (GCI) 2017-2018 data of 126 countries. Data analysis was conducted using construct validity validation, multilevel confirmatory factor analysis, and multilevel structural equation modelling analysis. The findings showed that 1) innovation capability, higher education and training, and business sophistication model corresponded with the empirical data, both at the country level (within level) and the region level (between level), and 2) The result of business sophistication model with innovation capability as a moderator revealed that the model with direct effects on variables at different levels was more capable in explaining the relationship among innovation capability, higher education and training, and business sophistication in multilevel than the model with a moderator. Analysis of the multilevel model with direct effects indicated that at the country level, higher education and training directly affected business sophistication (β =.824), while at the region level, innovation capability directly affected business sophistication (β = .927).
Keywords
ดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก; ศักยภาพทางธุรกิจ; ศักยภาพทางนวัตกรรม; คุณภาพการอุดมศึกษาและการฝึกอบรม; การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับ; global competitiveness index; business sophistication; innovation capability; higher education and training; multilevel modeling analysis
How to cite!
กรวุฒิ แผนพรหม, ณัฐพล อนันต์ธนสาร, & สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร. (2565). การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับคุณภาพการอุดมศึกษาและการฝึกอบรมที่ส่งผลต่อศักยภาพทางธุรกิจ ที่มีศักยภาพทางนวัตกรรมเป็นตัวแปรปรับ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(2), 1-18
Indexed in