การศึกษาแบบจำลองแนวคิดการออกแบบเว็บไซต์สำหรับพิพิธภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในกลุ่มไทยดิจิทัลเนทีฟ
Study on Conceptual Model in Website Design for Museums to Enhance Lifelong Learning for Thai Digital Natives
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ของกลุ่มไทยดิจิทัลเนทีฟ และ 2) ศึกษาแบบจำลองแนวคิดการออกแบบสื่อเว็บไซต์สำหรับพิพิธภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในกลุ่มไทยดิจิทัลเนทีฟ ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยประชากรกลุ่มตัวอย่าง ไทยดิจิทัลเนทีฟหรือกลุ่มคนรุ่นใหม่ อายุระหว่าง 14-25 ปี ด้วยวิธีคัดเลือกแบบอาสาสมัคร และการวิเคราะห์เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ที่มีแนวปฏิบัติดีที่สุดของต่างประเทศ ด้วยการกำหนดเกณฑ์และวิธีในการคัดเลือก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามออนไลน์เรื่องการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองและพฤติกรรมการเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ วิเคราะห์ผลแบบอัตราค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมาตรวัดค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likert Scale) และ 2) แบบวิเคราะห์ข้อมูลด้านการออกแบบเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ที่ดีที่สุด วิเคราะห์ผลโดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาแบบจำลองแนวคิดการออกแบบเว็บไซต์สำหรับพิพิธภัณฑ์สามารถสรุปได้เป็น 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ เรื่องราว การออกแบบเรขศิลป์ การใช้งาน และเทคโนโลยี โดยครอบคลุมหลักการใช้งานสื่อเว็บไซต์และมัลติมีเดียช่วยสื่อสารภาพลักษณ์ที่ชัดเจนของพิพิธภัณฑ์ สามารถเชื่อมโยงประสบการณ์กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น การแสวงหา การสำรวจและค้นคว้า ส่งเสริมจินตนาการสอดคล้องกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตในกลุ่มไทยดิจิทัลเนทีฟ และสามารถนำแนวคิดการออกแบบเว็บไซต์ไปประยุกต์พัฒนาเพื่อปรับใช้ตามศักยภาพความพร้อมและความเหมาะสมสำหรับทุกประเภทพิพิธภัณฑ์ในระดับเล็ก กลาง และใหญ่ของประเทศไทยได้
Abstract
This research aimed to 1) study the attitude and behavior of museum visits amongst Thai digital natives and 2) study the details to be used with the conceptual model for museum website to enhance a lifelong learning for Thai digital natives. This study used mixed methodology between quantitative and qualitative research. The research population are Thai digital natives between the ages of 14-25 voluntary random sampling and analyzed the best practice international museum websites by setting criteria and selection method. The research instruments consisted of 1) an online series of structured questions to observe the use of technology to self-access learning and museums visitor’s behavior, examined the result using mean and standard deviation and Likert 5 rating scale, 2) the data analysis of the best practice museum websites, analyzed the result using percentage mean. The result founded that the conceptual model in website design for museums can be defined into 4 main elements; story, design, usability, and technology. This model covered the principles to convey the clear-cut image and relate to lifelong learning experience amongst Thai digital natives. Besides, the conceptual idea could be applied to a various type of museums in Thailand depending on availability and suitability.
Keywords
เว็บไซต์สำหรับพิพิธภัณฑ์; การเรียนรู้ตลอดชีวิต; ไทยดิจิทัลเนทีฟ; website design for museum; lifelong learning; thai digital natives
How to cite!
สิรดา ไวยาวัจมัย, & เพิ่มศักดิ์ สุวรรณทัต. (2565). การศึกษาแบบจำลองแนวคิดการออกแบบเว็บไซต์สำหรับพิพิธภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในกลุ่มไทยดิจิทัลเนทีฟ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(1), 201-215
Indexed in