การพัฒนาระบบการเตรียมความพร้อมและพัฒนาครูใหม่สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : การวิจัยอนาคตแบบ Ethnographic Delphi Futures Research
The Development of System for Preparation and Development of Beginning Teacher in Basic Educational School: Ethnographic Delphi Futures Research
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการพัฒนาระบบการเตรียมความพร้อมและพัฒนาครูใหม่สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาและสร้างระบบสนับสนุนครูใหม่สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อหาแนวโน้มของระบบการเตรียมความพร้อมและพัฒนาครูใหม่สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อเขียนอนาคตภาพของระบบการเตรียมความพร้อมและพัฒนาครูใหม่สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัย ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) มาใช้ในการศึกษาในการรวบรวมความคิดเห็นที่เป็นฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 กลุ่ม นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาสร้างแบบสอบถาม จากนั้นนำแบบสอบถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารการศึกษาตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (IOC) แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 17 คนเดิมแสดงความคิดเห็นและให้ระดับความสำคัญในรอบที่ 2 รวมถึงการยืนยันความคิดเห็นอีกครั้งหนึ่ง โดยมีตำแหน่งค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ประกอบการพิจารณาในรอบที่ 3 ผลของการศึกษาวิจัย พบว่า 1) ระบบสนับสนุนครูใหม่สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีจำนวน 5 ระบบ 2) แนวโน้มของระบบเตรียมความพร้อมและพัฒนาครูใหม่สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญทั้ง 5 ระบบในระดับมากที่สุด โดยองค์ประกอบทุกด้านกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน และ 3) อนาคตภาพของระบบการเตรียมความพร้อมและพัฒนาครูใหม่สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ 1) ระบบครูพี่เลี้ยง: ด้านส่วนตัว ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านวิชาชีพ 2) ระบบผู้เชี่ยวชาญ : ด้านการสร้างการเข้าถึงความเชี่ยวชาญ และด้านการให้คำแนะนำจากภายนอก 3) ระบบเพื่อนร่วมวิชาชีพ : ด้านการสร้างเครือข่ายภายใน และด้านการสร้างเครือข่ายระหว่างโรงเรียน 4) ระบบการสะท้อนตนเอง : ด้านการสะท้อนการเรียนรู้ของตนเองในระดับสูง ด้านการสะท้อนตนเองทำให้มั่นใจในความต่อเนื่องของการศึกษา และด้านความก้าวหน้าในวิชาชีพ และ 5) ระบบการอำนวยการ: ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินการ ด้านการตรวจสอบ และด้านการปรับปรุงการดำเนินการให้เหมาะสม
Abstract
This research is the study of development systems for the preparation and development of beginning teacher in basic educational school. The purposes of this research were to 1) study and build supportive systems for new teachers in basic educational school, 2) find the trends in the new teachers' preparation systems for development in basic educational school, and 3) portray the scenario of the new teachers' preparation systems and development in basic educational school. Research methodology was implemented a research technique named EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) with carry out by interviewing four groups of experts. The data were then analyzed and synthesized in order to construct the questionnaire. Subsequently, the questionnaire was examined through content validity (IOC) by the experts for a second and third time respectively. According to the findings: 1) There were five systems for beginning teachers in support of the basic educational school, 2) five trends in the preparation systems for the development of beginning teacher in basic educational school ranked in the highest level and the idea was concordant each other. The scenario of the systems for the preparation and development of beginning teacher in basic educational school was comprised of (a) a mentoring system as shown by personal, emotional, social, and professional aspects, (b) an expert system as demonstrated in terms of access to expertise and providing recommendations from an external party, (c) a peer system as shown by forming internal networks and networks between schools, (d) a self-reflection system as revealed in three parts including high level of self-learning reflection, self-learning reflection toward confidence in continuity of education, and career path development, and (e) an administrative system as presented in terms of planning, operation, inspection, and proper operational improvement.
Keywords
การเตรียมความพร้อมและพัฒนา; ระบบสนับสนุน; เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR; ครูใหม่; preparation and development; ; system of beginning teacher support; ; beginning teacher; ; ethnographic delphi futures research technique
How to cite!
สายัณห์ ต่ายหลี, ทวีศิลป์ กุลนภาดล, & อภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์. (2565). การพัฒนาระบบการเตรียมความพร้อมและพัฒนาครูใหม่สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : การวิจัยอนาคตแบบ Ethnographic Delphi Futures Research. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(1), 184-200
Indexed in