วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนารูปแบบการประเมินตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการจีแพส สำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา

A Development of the Authentic Assessment Model of GPAS Instructional for Primary School Students


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการประเมินตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจีแพส สำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการสร้างรูปแบบการประเมินตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจีแพส มี 3 ขั้นตอนดังนี้        1) ศึกษาสภาพและปัญหาการประเมินตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจีแพส ของครูระดับชั้นประถมศึกษา โดยรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามสภาพและปัญหาการประเมินตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจีแพสจากครูในระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 400 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน  2) ร่างรูปแบบการประเมินตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจีแพส โดยสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากการศึกษาสภาพและปัญหาการประเมินตามสภาพจริง และข้อมูลจากการสนทนากลุ่มกับผู้บริหารและคณะครูที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจีแพส จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 9 คน และ 3) ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการประเมินตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจีแพส โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผล ด้านการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจีแพส และด้านหลักสูตรและการสอน ด้านละ 3 คน ด้วยแบบประเมินคุณภาพรูปแบบการประเมินตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจีแพส วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการประเมินตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจีแพส โดยทดลองใช้กับครูและผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดรุณากาญจนบุรี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ห้องละ 30 คน เป็นเวลา 1 ภาคเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบความสามารถในการคิดขั้นสูง และแบบบันทึกผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการประเมินตามสภาพจริง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) การตั้งเป้าหมายด้านผู้เรียน 2) การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง และ 3) การตรวจสอบและให้ข้อมูลย้อนกลับ รูปแบบมีมาตรฐานด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีมาตรฐานด้านความเป็นไปได้ มาตรฐานด้านความถูกต้อง และมาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก  และจากการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า ผลการทดสอบความสามารถในการคิดขั้นสูงของผู้เรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่ต่างกัน

Abstract

The purposes of this research were to develop and evaluate the effectiveness of the authentic assessment model of GPAS instructional for primary school students. The research operation was divided into 2 phases. Phase 1 was to create the authentic assessment model for instructional management with GPAS process. There were 3 steps as follows: 1) studied the condition and problems of the authentic assessment according to GPAS instructional process of primary school teachers by submitting a questionnaire about condition and authentic assessment problem of instructional management with GPAS process to 400 teachers at the elementary level, selected by multi-stage random sampling; 2) draft a practical authentic assessment model for instructional management with GPAS process by synthesizing the data obtained from the analysis of relevant documents and research, data from condition studies and problems of authentic assessment according to GPAS instructional process, and information from focus group with administrators and teachers who specialize in instructional management with GPAS process, 2 times, 9 peoples at a time; and 3) explore quality of the authentic assessment model for instructional management with the GPAS process using an expert judgement form 9 experts in the field of measurement and evaluation, instructional management with the GPAS process, and curriculum and instruction. Data were analyzed by finding frequency, percentage, average, standard deviation, and content analysis. Phase 2 was to evaluate the effectiveness of the authentic assessment model of GPAS instructional by conducting a trial with teachers and 6th grade students in Daruna Kanchanaburi School for 1 semester. Data were collected from a high order thinking test and a record form on ordinary national educational test result, and were analyzed based on averages, standard deviations, and t- test.

The findings indicated that the authentic assessment model consisted of 3 elements: 1) learners’ goals setting; 2) authentic instructional management; and 3) evaluation and feedback. The model was at the highest level of propriety standard, while feasibility, accuracy and utility standards were at a high level. The effectiveness of the model showed that the high order thinking test results of the experimental group were significantly higher than the control group at .05 level but the ordinary national educational test scores between experimental group and control group was found non-significant difference.

Download in PDF (445.86 KB)

How to cite!

พัฒนจิตต์ สุขไพบูลย์, ศศิธร กาญจนสุวรรณ, & สุวพร เซ็มเฮง. (2565). การพัฒนารูปแบบการประเมินตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการจีแพส สำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(1), 102-118

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in