วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนและทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิตครู ผ่านการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับห้องเรียนออนไลน์

Enhancing Student Teachers’ Learning Engagement and Classroom Action Research Skills through Active Learning with Online Classroom


บทคัดย่อ

การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะการใช้การเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับห้องเรียนออนไลน์ในการเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนและทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิตครู
2) ศึกษาความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนของนิสิตครูหลังการใช้การเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับห้องเรียนออนไลน์ และ
3) เปรียบเทียบทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิตครูก่อนและหลังการใช้การเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับห้องเรียนออนไลน์ โดยศึกษากับนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวนนิสิต 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกหลังการสอน 2) ล็อกไฟล์ที่เก็บข้อมูลจากห้องเรียนออนไลน์ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ 4) แบบวัดทักษะในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ 5) แบบประเมินรายงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพที่สังเกตได้ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้

1. ลักษณะการใช้การเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับห้องเรียนออนไลน์ที่เสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนและทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิตครู ได้แก่ การจัดกิจกรรมระดมความคิดผ่านกระดานระดมความคิด การเรียนรู้มโนทัศน์และกระบวนการวิจัย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันผ่านกระดานสนทนา และการฝึกการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนผ่านการลงมือปฏิบัติจริงภายใต้การให้ข้อเสนอแนะแบบเรียลไทม์ในห้องเรียนออนไลน์

2. ความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนของนิสิตครูหลังการใช้การเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับห้องเรียนออนไลน์ พบว่า นิสิตมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนเป็นอย่างดี จดจ่ออยู่กับการเรียนถึงแม้จะเป็นการเรียนออนไลน์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ขณะทำกิจกรรมในปริมาณที่สูง อีกทั้งปริมาณการทำและส่งกิจกรรมต่าง ๆ ในห้องเรียนออนไลน์มีปริมาณที่สูงเช่นกัน

3. ค่าเฉลี่ยทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิตครูหลังจากใช้กิจกรรมเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับห้องเรียนออนไลน์ (84.07%) สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเรียน (62.22%) นอกจากนั้นการประเมินรายงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิตบ่งชี้ว่านิสิตมีทักษะการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ และการสื่อสารความรู้ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

Abstract

The purposes of this classroom action research were 1) to analyze the characteristics of active learning with online classroom for enhancing student teachers’ learning engagement and classroom action research skills, 2) to study student teachers’ learning engagement after using active learning with online classroom, and 3) to compare student teachers’ classroom action research skills before and after using active learning with online classroom. Data were collected from 18 senior undergraduate student teachers who enrolled in Classroom Action Research course. The research instruments were 1) post lesson reports, 2) log files of online classroom, 3) classroom observation form, 4) classroom action research skills testing, and 5) classroom action research assessments form. Data were analyzed by using descriptive statistics and qualitative content analysis. The results indicated that:

1) characteristics of active learning with online classroom were brainstorming activity via posts, research concept and process learnings, learning exchange via forums, and learning classroom action research by doing;

2) the analysis of log data shown that student teachers are properly determined and concentrate on their learning even though it is an online learning, and they were cooperative and have high quantity of knowledge exchange while participating activities.

3) for comparing student teachers’ classroom action research skills, the average posttest score (84.07 %) after obtaining the Active learning with online classroom was obviously higher than the average pretest score (62.22 %). Moreover, the classroom action research report assessments showed that it helps student teachers to have appropriate skills for the research especially critical thinking, creative thinking, and communication skill.

Download in PDF (1.37 MB)

How to cite!

กนิษฐ์ ศรีเคลือบ, & ประภาศิริ รัชชประภาพรกุล. (2565). การเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนและทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิตครู ผ่านการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับห้องเรียนออนไลน์. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(1), 1-17

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in