วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้ ICT เป็นฐาน

Development of Learning Innovation Creation Skill for Thai Language Teachers in the Three Southernmost Provinces by Using ICT-Based Learning


บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้ ICT เป็นฐาน มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ ICT เป็นฐาน ของครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้ ICT เป็นฐาน 3) เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน ของครูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้ ICT เป็นฐาน การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน เป็นการวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้ ICT เป็นฐาน เป็นการวิจัยและพัฒนา และระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้ ICT เป็นฐาน เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษารูปแบบคือ ครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาผลการใช้รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้ ICT เป็นฐาน แบบวัดทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า ครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ ICT เป็นฐาน อยู่ในระดับปานกลาง โดยต้องการพัฒนาทักษะการสร้างสื่อการสอนประเภทเกมมากที่สุด องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้ ICT เป็นฐาน มี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อม 2) การฝึกอบรม และ 3) การวัดและประเมินผล การฝึกอบรม 4 แผน ได้แก่ 1) การจัดการห้องเรียนออนไลน์ด้วย Google Classroom 2) การสร้างเกมถามตอบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Kahoot 3) การแทรกคำถามในวิดีโอด้วยโปรแกรม Edpuzzle และ 4) การสร้างข้อสอบออนไลน์ด้วย Google Form รูปแบบการพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.53/83.00 หลังการใช้รูปแบบครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ ICT เป็นฐาน อยู่ในระดับมาก โดยมีทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับมาก โดยสรุป รูปแบบการพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้ ICT เป็นฐานมีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนอบรม จึงสามารถนำไปใช้พัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้กับครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้

Abstract

This research an developing the learning innovation creation skill for Thai language teachers in the three southernmost provinces by using ICT-based learning aimed 1) to study the Thai language teachers’ needs on learning innovation creation skill by using ICT-based learning, 2) to develop learning innovation creation skill model for Thai language teachers in the three southernmost provinces by using ICT-based learning, 3) to develop the learning innovation creation skill by using ICT-based learning for Thai language teachers in the three southernmost provinces, and 4) to evaluate their satisfaction towards the use of model of learning innovation creation skill model for Thai language teachers in the three southernmost provinces by using ICT-based learning. This research study was conducted under three phases. The first phase was to study the needs on learning innovation creation skill by using ICT-based learning, the method was mixed method research. Then, the second phase was to develop learning innovation creation skill model for Thai language teachers in the three southernmost provinces by using ICT-based learning, the method was research and development. Finally, the third phase was to study about innovation creation skill by using ICT-based learning, the method was experimental research. The samples for study about innovation creation skill model were 30 from the Thai language teachers in the three southernmost provinces. The research instruments included the learning innovation creation skill model for Thai language teachers in the three southernmost provinces by using ICT-based learning, questionnaire for the learning innovation creation skill by using ICT-based learning, and satisfaction questionnaire for the learning innovation creation skill model by using ICT-based learning. Data were analyzed by the mean, standard deviation, and t-test.

Some significant results for Thai language teacher developments in the three southernmost provinces were found. The needs on learning innovation creation skill by using ICT-based learning was at moderate level and the learning innovation creation skill that relate to gaming was mostly needed. There were three components of innovation creation skill by using ICT-based model, namely; 1) preparation, 2) training, and 3) measurement and assessment. The 4 training plan include 1) management online classroom with google classroom, 2) questions and answers online with kahoot,
3) questions inserted in video with edpuzzle program, and 4) creating online test with google form. The efficiency value of the learning innovation creation skill model developed was 84.53/83.00, the Thai language teachers in the three southernmost provinces owned skills in creation innovation learning by using ICT-based learning at a high level. Their skills to create learning innovations after training was higher with statistical significance at the level of .01 (ρ < .01), and the satisfaction of the model was at the high level. In summary, the efficiency of the model of learning innovation creation skill was at the standard level. Hence this model can benefit the development of the Thai language teachers’ skill in creating learning innovation in the context of the three southernmost provinces.

Download in PDF (487.63 KB)

How to cite!

ณฤดี เนตรโสภา (2564). การพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้ ICT เป็นฐาน. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(2), 65-81

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in