การพัฒนาแบบวัดการคิดเชิงวิพากษ์ตามแนวคิดของเดรสเซลล์และเมย์ฮิว โดยเน้นสถานการณ์วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
The Development Critical Thinking Skill Test Of Dressel And Mayhew’s By Scientific Situation For Matthayom Suksa 1 Students
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างแบบวัด ตรวจสอบ และสร้างเกณฑ์ปกติ (Norms) แบบวัดการคิดเชิงวิพากษ์ตามแนวคิดของเดรสเซลล์และเมย์ฮิว โดยเน้นสถานการณ์วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในเครือซาเลเซียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในเครือซาเลเซียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 801 คน ได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือวิจัย คือ แบบวัดการคิดเชิงวิพากษ์ตามแนวคิดของเดรสเซลล์และเมย์ฮิว โดยเน้นสถานการณ์วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบทดสอบเลือกตอบ จำนวน 40 ข้อ แต่ละข้อมี 4 ตัวเลือก ตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงตามเนื้อหา ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ด้วยการคำนวณค่าสหสัมพันธ์แบบพอยท์-ไบซีเรียล (Point Biserial Correlation Coefficient) ตรวจสอบความเที่ยงของแบบวัดโดยใช้การคำนวณค่า KR 20 ของ Kuder Richardson และสร้างเกณฑ์ปกติระดับกลุ่มโรงเรียน (School Norm) ในรูปของคะแนนมาตรฐานที ที่คำนวณได้จากการสร้างสมการถดถอย
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า แบบวัดที่สร้างขึ้นสร้างได้ตามองค์ประกอบของการคิดเชิงวิพากษ์ สอดคล้องกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และสามารถวัดความสามารถขั้นวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าได้ดี คุณภาพแบบวัดมีความตรงตามเนื้อหา ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.43 – 0.58 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.22 – 0.63 และค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 ส่วนเกณฑ์ปกติของแบบวัด ด้านความสามารถในการนิยามปัญหา คะแนนมาตรฐานที อยู่ระหว่าง T36 – T62 ด้านความสามารถในการเลือกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการหาคำตอบของปัญหา คะแนนมาตรฐานที อยู่ระหว่าง T33 – T63 ด้านความสามารถในการระบุข้อตกลงเบื้องต้น คะแนนมาตรฐานที อยู่ระหว่าง T31 – T63 ด้านความสามารถในการกำหนดและเลือกสมมติฐาน คะแนนมาตรฐานที อยู่ระหว่าง T33 – T62 ด้านความสามารถในการสรุปอย่างสมเหตุสมผลและการตัดสินความสมเหตุสมผล คะแนนมาตรฐานที อยู่ระหว่าง T33 – T64 รวมทั้ง 5 ด้าน คะแนนมาตรฐานที อยู่ระหว่าง T31 – T66
Abstract
The purposes of this study were to construct a test, qualify it test and construct norms the Dressel and Mayhe’s critical thinking test based on scientific situations for Mathayom Suksa I Students of Salesians school group. The sample was Mathayom Suksa I Students, second semester, academic year 2561. There were 801 persons obtained by multistage random sampling. The research instrument used in collecting the data was the Dressel and Mayhe’s critical thinking test based on scientific situations test consisted of 40 items, multiple choices. The test content was analyzed. The research was quality test by using content validity and reliability process. The data analysis had been done by Point Biserial Correlation Coefficient. Its reliability was assessed by using KR 20. The norms at the school level were created in Normalized T-score by Creating regression.
The research results were as follow; the content validity was at 0.60-1.00, difficulty index was at 0.43-0.58, discrimination power was at 0.22-0.63 and the total reliability of the test was at 0.93. The normal criteria of the test, problem defining ability and T-score was at T36 – T62. The skill to choose information related to finding the answer to a problem Normalized T- score of T33 - T63. The specifying basis agreement ability and T- score was at T31 – T63. The defining and selecting hypothesis and T- score T33 – T62. The reasonable conclusion ability and justification ability and T-score were at T33 – T64. The total T-score conclusion was at T31 – T66.
Keywords
กระบวนการคิด ; ทักษะการคิด; การพัฒนาเครื่องมือ; Thinking Process; Thinking Skill; Developing Measurement
How to cite!
ปัญญา แจ้งสว่าง, ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์, & เอกรัตน์ ทานาค. (2564). การพัฒนาแบบวัดการคิดเชิงวิพากษ์ตามแนวคิดของเดรสเซลล์และเมย์ฮิว โดยเน้นสถานการณ์วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(2), 31-46
Indexed in