วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์และการคิดนอกกรอบ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Development of Instructional Process Based on Strategic Planning and Lateral Thinking Approaches of the Undergraduates


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์และการคิดนอกกรอบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีของนักศึกษาระดับปริญญาตรี การดำเนินงานวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและยกร่างกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและตรวจสอบการให้คำนิยามและกำหนดองค์ประกอบของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีจากผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์และนักวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมทางเคมี จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบประเมินความสอดคล้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  และระยะที่ 2 การตรวจสอบและปรับแก้ไขกระบวนการเรียนการสอนตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมแบบมาตรประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติด้วยการใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) สภาพปัญหาของการจัดการเรียนการสอนสร้างนวัตกรรมทางเคมี คือ นักศึกษาส่วนใหญ่ขาดการแสวงหาความรู้และความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีกระบวนการคิดและวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ รวมถึงไม่ทราบจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนของการพัฒนางานวิจัยไปสู่การเป็นนวัตกรรม ทำให้ไม่สามารถพัฒนางานวิจัยหรือดำเนินงานวิจัยให้บรรลุเป้าประสงค์ของการพัฒนานวัตกรรมได้ 2) กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ หลักการของกระบวนการตามแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์และการคิดนอกกรอบ จำนวน 5 ข้อ และ ขั้นตอนของกระบวนการ 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างเป้าหมายจากปัญหา ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ตนและกำหนดกลยุทธ์ ชั้นที่ 3 ดำเนินกลยุทธ์เพื่อนวัตกรรม ขั้นที่ 4 ตรวจสอบผลการใช้กลยุทธ์ ผลการประเมินกระบวนการเรียนการสอนจากผู้ทรงคุณวุฒิพบว่ากระบวนการเรียนการสอนนี้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.61, SD = 0.62) และสามารถนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีของนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้

Abstract

The main purpose of this study was to develop an instructional process based on strategic planning and lateral thinking approaches for enhancing chemistry innovation ability for the undergraduates. The study procedures were divided into 2 phases; Phase I: studying the basic data and constructing the instructional process draft by analysis and synthesis from related document, expert examination. The sample was 15 chemistry instructors and researchers in chemistry innovation field. The research instrument was the index of item-objective congruence evaluation form; Phase II: evaluating and rearranging the instructional process. The sample was 7 experts for examining suitability of tools. The research instrument was the consistency index evaluation form. The collected data were statistically analyzed using the mean, standard deviation, and the qualitative data were subjected to content analysis.

The findings of this study were as follows: 1) the lack of knowledge acquisition and creativity, thinking and systematic planning, unclear research goal were the main problems for promoting student’s chemistry innovation ability, 2) the developed instructional process for enhancing chemistry innovation abilities of undergraduates were composed of objective, five principals, and four steps as (1) set a problem-based goal (2) analyze oneself and draw up a strategy (3) implement the strategy (4) revise the strategy outcome. The instructional process was suitable at the highest level (x = 4.61, SD = 0.62). The developed instructional process can be used for enhancing the chemistry innovation ability of the undergraduates.

Download in PDF (921.87 KB)

How to cite!

เธียรดนัย เสริมบุญไพศาล, วิชัย เสวกงาม, & พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ. (2564). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์และการคิดนอกกรอบ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(2), 11-30

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in