วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการและการเรียนรู้นอกห้องเรียนเชิงสังคมศึกษาที่มีต่อการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย

The Effects Of Providing Of Social Study And Outdoor Learning Activities Based On Project Approach On Critical Thinking Of Young Children


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์แบบโครงการและการเรียนรู้นอกห้องเรียนเชิงสังคมศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 3-4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหลักหก (ศูนย์3โรงเรียนวัดนาวง) จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการและการเรียนรู้นอกห้องเรียนเชิงสังคมศึกษา รายสัปดาห์ ทั้งหมด 8 แผน ประกอบด้วย 2 โครงการ ได้แก่ โครงการสวนอ้อยและโครงการสวนกล้วย 2) แบบประเมินความสามารถด้านการคิดวิจารณญาณสำหรับเด็กปฐมวัย 2 สถานการณ์ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการและการเรียนรู้นอกห้องเรียนเชิงสังคมศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการคิดวิจารณญาณหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองทั้งโดยรวมและรายด้าน จากการบันทึกการประเมินความสามารถด้านการคิดวิจารณญาณ ดีขึ้นทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรับรู้ เด็กบอกรายละเอียดของสภาพอากาศและลักษณะดินที่เหมาะกับการทำสวนอ้อย สวนกล้วย 2) ด้านการจำ เด็กเล่าประวัติความเป็นมาของการทำสวนอ้อย สวนกล้วย 3) ด้านการจำแนก เด็กจำแนกส่วนประกอบของต้นกล้วยกับต้นอ้อย และชี้ภาพส่วนประกอบได้ 4) ด้านการเชื่อมโยง เด็กบอกถึงการนำส่วนประกอบของต้นกล้วย ต้นอ้อยไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ 5) ด้านการสรุปอ้างอิง เด็กบอกถึงการนำส่วนประกอบของต้นอ้อย ต้นกล้วย ไปสร้างผลงานศิลปะได้

Abstract

The main objective of this study was to compare critical thinking of young children before and after providing of social study and outdoor learning activities based on project approach.

The population of this study consisted of 21 boy and girl preschool children ranging in age from 3 – 4 years old and studying in kindergarten level 1 in the second semester year of 2018 from Lak Hok Subdistrict Municipality, Child Development Center. The instruments in this study included 1) the 8 lesson plans of social study and outdoor learning activities based on project approach for 2 projects: Cane and Banana 2) the assessment form of young children’s critical thinking for 10 items in 2 situations. The obtained data was analyzed by mean, standard deviation and content analysis.

The results showed that children who participated in social study and outdoor learning activities based on project approach had post-test scores of critical thinking higher than before both overall aspects and in each aspect. Children could develop in 5 aspects included 1) Recognition: children could recognize climate details and appropriate soil for planting canes and bananas. 2) Remember: children could remember the history of cane field and banana field. 3) Classification: children could classify and point the components of canes and bananas. 4) Connection: children could connect components of canes and bananas for changing into products. 5) Inferring: children could tell the components of canes and bananas for doing art works.

Download in PDF (454.25 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2020.27

How to cite!

อังศุมาลิน ติดตระกูลชัย, & อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2563). ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการและการเรียนรู้นอกห้องเรียนเชิงสังคมศึกษาที่มีต่อการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 14(2), 178-192

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in