วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนบรรยายภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคชุดรูปภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Participatory Action Research to Develop English Narrative Writing Ability by Using the Picture Series Technique for 9th Grade Students


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนบรรยายภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคชุดรูปภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีการดำเนินการตามวงจรการพัฒนาจำนวน 3 วงจร ผู้ร่วมวิจัยจำนวน 36 คน ประกอบด้วยนักเรียน ครู และผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบการเขียนบรรยายภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคชุดรูปภาพ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบคำถามปลายเปิด แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความสามารถในการเขียนบรรยายภาษาอังกฤษสูงขึ้นตามวงจรการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.61 14.86 และ16.36 ตามลำดับ ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 อีกทั้งยังพบว่า ในระหว่างการจัดการเรียนการสอนนักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน และเกิดความคิดอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ในการให้นักเรียนมีโอกาสได้สร้างชุดรูปภาพขึ้นด้วยตนเองในวงจรการพัฒนาสุดท้าย ทำให้นักเรียนมีอิสระ และความท้าทายในการเขียนบรรยายภาษาอังกฤษ

Abstract

The purpose of this research was to develop English narrative writing ability by using the picture series technique for 9th grade students, through participatory action research. The development implementation cycle consisted of three circuits and 36 research participants, which included 34 students, a teacher and a researcher. The tools used in the research were English narrative writing tests using the picture series technique, lesson plans, open-ended question forms, a participatory observation form, a feedback questionnaire and a satisfaction questionnaire. The research found that the students had the ability to write an English narration in accordance with the development cycle, with an average of 13.61, 14.86 and 16.36 respectively. Overall, the students were satisfied with the highest level. The average was 4.50 and this was also found during the course of teaching and learning. Students formed peer-assisted learning and formed systematic ideas. Giving students the opportunity to create their own picture series, in the final development cycle, allowed the students to be independent and face the challenge of English narrative writing.

Download in PDF (605.32 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2020.15

How to cite!

ณัฐนันท์ จาดดำ, & ชนัดดา ภูหงษ์ทอง. (2563). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนบรรยายภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคชุดรูปภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 14(2), 15-28

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in