วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

Learning Theories and Technology: a Qualitative Inquiry

ทฤษฎีการเรียนรู้และเทคโนโลยี: กระบวนการตรวจสอบเชิงคุณภาพ


บทคัดย่อ

ดิจิทัลเทคโนโลยีกำลังมีอิทธิพลต่อผู้คนในสังคมด้านวิธีการสื่อสาร การทำงาน การศึกษาและการรับความรู้ การเปลี่ยนแปลงอย่างเหลือเชื่อและรวดเร็วของเทคโนโลยีกำลังท้าทายมหาวิทยาลัยให้คิดทบทวนกระบวนการเรียนการสอนและรวมเอานวัตกรรมล่าสุดเข้ามามีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้ในระดับอุดมศึกษา นักศึกษาในปัจจุบันนี้มีชีวิตที่เชื่อมโยงกับการสื่อสาร การเข้าสังคม และการเรียนรู้ออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นบทความนี้จึงเน้นการพิจารณาวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับการยอมรับสองวิธี ได้แก่ วิธีที่เน้นด้านพฤติกรรมศาสตร์นิยม และด้านการสร้างสังคมนิยม รวมทั้งความเชื่อใหม่ด้านการเชื่อมโยงทางเทคโนโลยีเข้ากับกระบวนการเรียนรู้ พฤติกรรมศาสตร์นิยมคือระบบการเรียนรู้ตามพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางกายภาพ การสร้างสังคมนิยมคือ การเรียนรู้ที่ใช้ห้องเรียนเป็นแหล่งที่จัดกิจกรรมและแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (มากกว่าครู) มีความรับผิดชอบต่อการพิสูจน์ การปกป้องและการสื่อสารในห้องเรียนชุมชน ส่วนนักวิชาการที่เชื่อมั่นกับการเชื่อมโยงทางเทคโนโลยีอ้างว่าการได้มาซึ่งความรู้ที่ดีที่สุดจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์การเรียนรู้แบบเครือข่ายในกลุ่มนักเรียนขนาดใหญ่โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเชื่อว่าเทคโนโลยีจะช่วยปรับปรุงวิธีการสอนทั้งสามนี้ แต่การพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไปทำให้เกิดข้อได้เปรียบและความท้าทายในการเรียนการสอน

Abstract

Digital technology is influencing society in how people communicate, work, study and obtain knowledge. Dramatic and rapid changes in technology are challenging universities to rethink pedagogies and incorporate the latest innovations into the delivery of higher education. Students of today live connected lives communicating, socializing and increasingly learning on-line. Therefore, this paper focusses on considering two accepted approaches to education deliver; behaviorism and social constructivism, plus a new concept connectivism. Behaviorism is a learning system based on behavioral responses to physical stimuli. Social constructivism is learning is where the classroom is a commonality of activity and exchange with the learners (rather than the teacher) being responsible for proving, defending, and communicating ideas to the classroom community. Academics who rely on connectivism asserts that the acquisition of knowledge best takes place in a networked learning experience among a large student group using information technologies. Technology enhances these three teaching approaches yet the over-reliance on technology exposes pedagogical advantages and challenges in each.

Download in PDF (313.34 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2020.14

How to cite!

Weeks, B., & Mannerutt, G. (2563). ทฤษฎีการเรียนรู้และเทคโนโลยี: กระบวนการตรวจสอบเชิงคุณภาพ. Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 14(1), 189-206

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in