การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา เรื่อง เครื่องมือการศึกษาสุขภาพชุมชน
The Develoment of Learning Activity Package using PBL and Cippa Model on Community Health Study Tool
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบ One-Group Pretest - Posttest Design มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 21 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือการศึกษาสุขภาพชุมชน 2) แบบทดสอบเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการเรียนรู้ และ 4)แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ paired – t test ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าคะแนนทดสอบความรู้เฉลี่ยหลังทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้มีค่าสูงกว่าก่อนทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 (p -value = 0.001) นักศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเรียนรู้ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ย 3.00 ± 0.81) และ 2) มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 2.74 ± 0.56) จึงอาจสรุปได้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปาสามารถเพิ่มความรู้และส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาได้
Abstract
The One-Group Pretest - Posttest Design was to develop and compare learners' learning achievement from Problem–based Learning and CIPPA model. The cluster random sampling consisted of 21 community health students in the 3st year, semester 2 of 2017. The tools consist follow the 1) topic community health study tool 2) the examination of course, behavior in learning 3) questionnaire and 4) the student’s satisfaction assessment for leaning activity. The descriptive, paired – t test and analytic induction were utilized data analysis. The result showed that 1) the comparison of learning activity the post – learning achievement score was higher than the pre – learning score (p - value = 0.001). The students were behavior in learning at the moderate level (Mean = 3.00 ± 0.81). 2) The students were satisfied with the learning activity process at the high level (Mean = 2.74 ± 0.56). It is possible, hence, to conclude PBL and CIPPA model which community health study tool could increase the knowledge and promoting self - directed learning of student.
Keywords
กิจกรรมการเรียนรู้ ; ปัญหาเป็นฐาน; โมเดลซิปปา ; เครื่องมือการศึกษาสุขภาพชุมชน; Learning achievement; PBL; CIPPA; Community health study tool
How to cite!
สามารถ ใจเตี้ย (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา เรื่อง เครื่องมือการศึกษาสุขภาพชุมชน. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 14(1), 153-163
Indexed in