วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับโซเชียลมีเดียกับการพัฒนาศิลปะการเขียน เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

Project- Based Learning with Social Media and the Art of Writing for Advertising and Public Relations Development of Thai for Communication Students, Faculty of Humanities and Social Science, Phuket Rajabhat University


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาศิลปะการเขียนเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์และ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับโซเชียลมีเดียกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จำนวน 22 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง คือเลือกเฉพาะนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการเขียนเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา2559 เครื่องมือวิจัยคือ (1) แบบสำรวจข้อบกพร่องด้านการเขียนเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ (2) แบบประเมินการเขียนเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ (3) แบบประเมินตนเองด้านศิลปะการเขียนเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ (4) แบบประเมินคุณลักษณะของผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ 5 ด้านโดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ (1) ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการถอดความ จากนั้นก็จะนำมาแยกตามประเด็น และหาประเด็นสำคัญของข้อมูล ตามหลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนา (2) ข้อมูลเชิงปริมาณ  ผู้วิจัยหาค่าเฉลี่ย และ ร้อยละ แล้วนำเสนอข้อมูลโดยการบรรยายประกอบตาราง

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาศิลปะการเขียนเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของนักศึกษาด้วยการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับโซเชียลมีเดียมีคะแนนเฉลี่ยพัฒนาขึ้นตามลำดับ ดังนี้ ผลงานการเขียนครั้งที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ย 11 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 56 ครั้งที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74 โดยคะแนนเฉลี่ยที่พัฒนาขึ้นจากครั้งที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 32 และ ครั้งที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ย 19 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 93 ซึ่งคะแนนเฉลี่ยที่พัฒนาขึ้นจากครั้งที่2 คิดเป็นร้อยละ 26 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความแตกต่างของการพัฒนาระหว่างครั้งที่ 1 กับ ครั้งที่ 3
พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยที่พัฒนาขึ้นคิดเป็นร้อยละ 67 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาพบว่า หลังได้รับการสอนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับโซเชียลมีเดีย ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ครบตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านปัญญา ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

Abstract

This study aimed at developing students’ art of writing for Advertising and Public Relations and proving the effectiveness of the use of project-based learning with social media in enhancing the characteristics of students according to the Thai Qualification Framework for Higher Education of students from Thai for Communication program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Phuket Rajabhat University. Twenty-two students from the third year taking part in the study were selected using the purposive sampling techniques whereby only those enrolled in the Writing for Advertising and Public Relations subject in the second semester of the academic year 2016 were targeted. The research instruments employed were as follows: Weakness Assessment Scheme for Writing for Advertising and Public Relations, Writing for Advertising and Public Relations Assessment Framework, Self-evaluation of Art of Writing for Advertising and Public Relations, and Characteristic Assessment According to the Thai Qualification Framework for Higher Education. Qualitative data were analyzed using Segmentation and Parsing for main themes, while quantitative data were analyzed through the use of means and percentages.

Overall, the researcher found the significant improvement in students’ writing performance after being engaged in the project-based learning method in their writing course. On the whole, the average score of the first writing task was at 11, counted for 56 percent. The average scores for the second and the third writing task jumped to 15 (74 percent) and 19 (93 percent), respectively. The comparison of the average score of the first and that of the third writing task showed that students’ writing skills significantly improved by 67 percent. With the effectiveness of the use of task-based learning method, the results revealed positive improvement on all five characteristics namely ethical and moral development, knowledge, cognitive skills, Interpersonal skills and responsibility, and Analytical and communication skills.

Download in PDF (466.14 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2020.8

How to cite!

วรพงศ์ ไชยฤกษ์ (2563). การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับโซเชียลมีเดียกับการพัฒนาศิลปะการเขียน เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 14(1), 109-123

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in