การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Development of a Blended Learning Model for Learning in the Career and Technology Module 3 Information and Communication Technology of Grade 2 Students
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 จำนวน 115 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 42 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง และระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ จำนวนทั้งหมด 11 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าประสิทธิภาพ (E1/ E2) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
(1) รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ แนวคิดทฤษฎีการเรียนการสอน 2) จุดประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนการสอน 4) การวัดและประเมินผลองค์ประกอบของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผสมผสาน มี 2 กิจกรรม คือ 1) การเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ 2) การเรียนการสอนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (2) รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพ และเทคโนโลยี สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.23/81.82 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (3) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) ผลการหาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรูปแบบผสมผสานเพื่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด นักเรียนมีผลการเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน จึงสามารถนำไปใช้สำหรับการเรียนการสอนกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Abstract
The purposes of this research and development were to (1) study the blended learning model for learning in the Career and technology module 3 information and communication technology of grade 2 students; (2) develop of the blended learning model for learning in the Career and technology module 3 information and communication technology of grade 2 students; and (3) an evaluate of an implementation of the developed blended learning model for learning in the Career and technology module 3 information and communication technology of grade 2 students.
This research is consisted of the three phases: the first phase was study of the blended learning model, the samples were 115 teachers, information technology and communication in the Pattani primary education service area office 2 selected by purposive sampling; the secondary phase was a development of the blended learning model, the samples were 5 experts and 42 students in the first semester of the academic year 2016, selected by purposive sampling; and the third phase was an evaluation of an implementation of the developed blended learning model. The samples consisted of 11 grade 2 students in the first semester of the academic year 2017, Somdejluangportuodwatchanghai School, which was purposive sampling
The findings showed as the follows:
(1) The blended learning model for learning in the Career and technology module 3 information and communication technology of grade 2 students was consisted of four important components, for example, a principle of teaching theory, a purpose of the blended learning model, learning activities, and assessing and evaluating the blended learning model. The component of an organization of the blended learning activities indicated two activities: normal classroom and lesson classroom on Internet. (2) The blended learning model for learning in the Career and technology module 3 information and communication technology of grade 2 students showed an efficiency of 81.23/81.82.This is according to the defined criteria.
(3) Students’ learning achievements for learning in the Career and technology module 3information and communication technology of grade 2 students, the post-score after learning of blended learning model has improved significantly when compared with pre-score at a level of .01 (p<.01). (4) Generally over all students’ satisfactions on the blended learning model for learning in the Career and technology module 3 information and communication technology of grade 2 students was the highest level.
In summary, the blended learning model had efficiency in accordance with the criteria, students have higher grades than before. It can be used for teaching in the Career and technology module 3 information and communication technology of grade 2 students.
Keywords
รูปแบบการเรียนการสอน; การเรียนรู้แบบผสมผสาน; การงานอาชีพและเทคโนโลยี; เทคโนโลยีสารสนเทศ; Instractional Model; Blended Leaning; the Career and Technology; Information Technology
DOI: 10.14456/jrtl.2020.5
How to cite!
นิภาพร นนท์ณรงค์ วาสนิล (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 14(1), 66-82
Indexed in