วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

The Effectiveness of Implementing Self-Monitoring and Peer Feedback Strategies with Mixed-Ability Students in an English Essay Writing Class

การใช้กลวิธีการกำกับตนเองและการให้ข้อมูลย้อนกลับจากเพื่อนกับผู้เรียนที่มีความสามารถแบบผสมในรายวิชาการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิผลของกลวิธีการกำกับตนเองและการให้ข้อมูลย้อนกลับจากเพื่อนในรายวิชาการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษกับผู้เรียนที่มีความสามารถแบบผสม 2) เพื่อสำรวจทัศนคติของผู้เรียนที่มีต่อกลวิธีการกำกับตนเองและการให้ข้อมูลย้อนกลับจากเพื่อนในรายวิชาการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ กลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล จำนวน 30 คน จากมหาวิทยาลัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้วิจัยสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ในการประเมินประสิทธิภาพกลวิธีการกำกับตนเองและการให้ข้อมูลย้อนกลับจากเพื่อนนั้น ได้ใช้ผลคะแนนการเขียนเรียงความแบบอธิบายก่อน-หลัง รวมถึงคะแนนจากการกำกับตนเองและการให้ข้อมูลย้อนกลับจากเพื่อนมาเปรียบเทียบ ซึ่งพบว่าคะแนนที่ได้หลังจากเรียนจบรายวิชาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยทางสถิติ นอกจากนี้ ผู้วิจัยนำบันทึกผู้เรียนมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหาทัศนคติของผู้เรียนต่อทั้งสองกลวิธี ซึ่งพบว่าผู้เรียนมีทัศนคติเชิงบวกต่อกลวิธีการกำกับตนเองและการให้ข้อมูลย้อนกลับจากเพื่อน ทั้งสองกลวิธีช่วยพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและเพิ่มพูนความรู้ผ่านขบวนการเขียนแบบร่วมมือกัน จากผลการศึกษาดังกล่าวสรุปได้ว่า แม้ทั้งสองกลวิธีจะส่งผลดีต่อผู้เรียนกลุ่มที่มีความสามารถในระดับสูง กลวิธีการกำกับตนเองและการให้ข้อมูลย้อนกลับจากเพื่อนควรนำไปปรับใช้กับผู้เรียนที่มีความสามารถทุกระดับ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการขัดเกลาทักษะการกำกับตนเองและทักษะการวิเคราะห์วิจารณ์ในการเรียนการเขียน

Abstract

This study sought 1) to investigate the effectiveness of the self-monitoring and peer feedback strategies implemented with mixed-ability students in an English essay writing class and 2) to explore students’ attitudes toward using these strategies. Participants were 30 third-year undergraduate students majoring in English for International Communication (EIC) at a university in the northeastern region of Thailand. Results revealed that although the post-test writing performance as well as the quality of annotations and peer feedback significantly improved, students still found difficulties in making annotations and peer feedback specific. Findings from student logs; however, revealed that students viewed these two strategies positively. It helped students to develop critical reading skills and opened up their horizons to collaborative process writing. It can be concluded that although the strategies may have benefitted students of the higher proficiency level in particular, it is recommended to introduce the self-monitoring and peer feedback strategies to learners of all levels as it serves as a springboard to honing self-monitoring skills as well as critiquing skills in writing classes.

Download in PDF (327.28 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2020.3

How to cite!

Weerathai, T., & Arya, T. (2563). การใช้กลวิธีการกำกับตนเองและการให้ข้อมูลย้อนกลับจากเพื่อนกับผู้เรียนที่มีความสามารถแบบผสมในรายวิชาการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ. Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 14(1), 33-48

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in