วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การศึกษาแบบแผนการตอบข้อสอบ วิชาคณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรังสิต โดยใช้ทฤษฎีเส้นโค้งเอส–พี

The Study of the Item Response Pattern by the Undergraduate Students of the Mathematics and Statistics in Everyday Life Subject of Rangsit University Using S-P Curve Theory


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาแบบแผนการตอบข้อสอบ วิชาคณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน โดยใช้ทฤษฏีเส้นโค้งเอส-พี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาจำนวนความบกพร่องของผู้สอบและข้อสอบในแบบแผนการตอบข้อสอบ ด้วยทฤษฎีเส้นโค้งเอส-พี 2) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศชายและหญิงที่มีความบกพร่องในแบบแผนการตอบข้อสอบ ด้วยทฤษฎีเส้นโค้งเอส-พี 3) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้สอบที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำและสูงที่มีความบกพร่องในแบบแผนการตอบข้อสอบ ด้วยทฤษฎีเส้นโค้งเอส-พี และ 4) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้สอบที่สังกัดกลุ่มสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่มีความบกพร่องในแบบแผนการตอบข้อสอบ ด้วยทฤษฎีเส้นโค้งเอส-พี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาคณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 582 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน เป็นแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความยาก อำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น สถิติการวิเคราะห์แบบแผนการตอบด้วยดัชนีบ่งชี้ผู้สอบและข้อสอบของซาโต้ ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่สอดคล้อง และค่าการแจกแจงของ Z – Proportion ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1) เพศชายมีสัดส่วนที่บกพร่อง 0.44 และเพศหญิงมีสัดส่วนที่บกพร่อง 0.40 ด้วยค่า Z = 1.02 พบว่า เพศชายมีความบกพร่องในแบบแผนการตอบข้อสอบมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2) ผู้สอบที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำมีสัดส่วนที่บกพร่อง 0.46 และผู้สอบที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงมีสัดส่วนที่บกพร่อง 0.36 ด้วยค่า Z = 2.12 พบว่า ผู้สอบที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำมีความบกพร่องในแบบแผนการตอบข้อสอบมากกว่าผู้สอบที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3) ผู้สอบสังกัดกลุ่มสังคมศาสตร์มีสัดส่วนที่บกพร่อง 0.43 และผู้สอบสังกัดกลุ่มวิทยาศาสตร์ มีสัดส่วนที่บกพร่อง 0.39 ด้วยค่า Z = 0.98 พบว่า ผู้สอบสังกัดกลุ่มสังคมศาสตร์มีความบกพร่องในแบบแผนการตอบข้อสอบมากกว่าผู้สอบสังกัดกลุ่มวิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

This research studied the item response pattern of the Mathematics and Statistics in Everyday Life Subject using the S-P Curve Theory. The objectives are as follows: 1) to study the number of examinees who were defective in the response forms with the S-P Curve Theory; 2) to compare the differences between males and females that were defective in the response forms with the S-P Curve Theory; 3) to compare the differences between the low and high learning achievement of examinees that were defective in the response forms with the S-P Curve Theory; and 4) to compare the differences between social and science groups that are defective in the response forms with the S-P Curve Theory. The sample group was the 582 undergraduate students who enrolled in the Mathematics and Statistics in Everyday Life Subject at Rangsit University using the simple random sampling method. The research instruments were as follows: the learning achievement test from the Mathematics and Statistics in Everyday Life Subject. The test was consisted of fifty questions in multiple-choice questions; each question contained four answers. The statistics used were means, standard deviations, item difficulty, item discrimination, reliability, analysis of response patterns between the examinees’ indicators of the examination papers and the defects in the response forms with the Sato's caution index, disparity coefficient, and the distribution value of Z – Proportion. The results of this study were as follows.

1) The proportion of defects of male students was 0.44 and the proportion of defects of female students was 0.40 with the distribution value of Z – Proportion was 1.02.  This research found that the male students had more unusual item response patterns than the female students at the statistical significant level of .05.

2) The proportion of defects of low achievement students was 0.46 and the proportion of defects of high achievement students was 0.36 with the distribution value of Z – Proportion was 2.12. This research found that the lower achievement students had more unusual item response patterns than the higher achievement students at the statistical significant level of .05.

3) The proportion of defects of social group was 0.43 and the proportion of defects of science group was 0.39 with the distribution value of Z – Proportion was 2.12.  This research found that the social group had more unusual item response patterns than the science group at the statistical significant level of .05.

Download in PDF (469.45 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2019.24

How to cite!

ศิริวรรณ วาสุกรี (2562). การศึกษาแบบแผนการตอบข้อสอบ วิชาคณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรังสิต โดยใช้ทฤษฎีเส้นโค้งเอส–พี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 13(2), 135-150

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in